บทวิเคราะห์: เหตุใดผู้ร่วมงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน มีความประสงค์กลับมาร่วมงานในอีกปีหน้า?

(CRI)วันพฤหัสบดี 22 กันยายน 2022

วันที่ 19 กันยายน งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนและการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนจีน-อาเซียนลงที่เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี ในระยะเวลา 4 วัน วิสาหกิจ 1,653 จาก 40 ประเทศ ร่วมงานออฟไลน์, วิสาหกิจกว่า 2,000 แห่ง ร่วมงานออนไลน์ ลงนามโครงการความร่วมมือ 267 โครงการ ยอดการลงทุนอยู่ที่ 413,000 ล้านหยวน สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยตัวเลขเหล่านี้สะท้อนถึงผลสำเร็จแห่งงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนครั้งนี้

ปัจจุบัน การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกชลอตัว ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศทยอยปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกในปีนี้และปีหน้า

ภายใต้การจัดงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนครั้งนี้ มีอุปกรณ์อัจฉริยะ เครื่องใช้ไฟฟ้าพลังงานสีเขียว, เทคโนโลยีแสงสว่างของจีน ต่างก็ได้รับความนิยมจากอาเซียน

ส่วนอาหารเครื่องดื่ม ผลไม้เขตร้อน ของใช้ในครัวเรือนก็มียอดการสั่งซื้อสูงจากผู้บริโภคในจีน

แม้บางระบบของโลกกำลังสร้าง “สร้างกำแพงระบบเศรษฐกิจ” แต่งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนกลับเต็มไปด้วยบรรยากาศเปิดกว้างสร้างโอกาสใหม่เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาวหลังสถานการณ์โควิด-19 และสร้างสรรค์เศรษฐกิจส่วนภูมิภาคแบบเปิดกว้าง

ผู้คนพบว่า เมื่อเทียบกับงานอดีต งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนปีนี้ได้จัดตั้งโซนแสดงสินค้าบูติกอาเซียนกับ RCEP เป็นครั้งแรก ที่สอดคล้องกับแนวทาง “ร่วมแบ่งปันโอกาสใหม่ของ RCEP ผลักดันเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเวอร์ชั่น 3.0”

โดยปีนี้เป็นปีเริ่มต้นแห่งความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างจีน-อาเซียน เป็นปีแรกที่ RCEP มีผลบังคับใช้ การก่อสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน 3.0 จะเริ่มต้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่า ความร่วมมือระหว่างจีน-อาเซียนจะก้าวสู่อีกขั้น

RCEP มีผลบังคับใช้ได้ส่งเสริมความร่วมมือให้ลุ่มลึกระหว่างจีนกับอาเซียน โดยเฉพาะนโยบายที่ดี อาทิ การลดและยกเว้นภาษีศุลกากร การเพิ่มประสิทธิภาพการข้ามพรมแดน กระชับการไปมาหาสู่กันด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีนกับอาเซียน

ขณะที่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์เข้าร่วมเป็นสมาชิก RCEP ก็ได้ขยายวงด้านเศรษฐกิจการค้าทั้งจีนและอาเซียนให้มากขึ้น