บทวิเคราะห์:สร้างอนาคตที่สดใสแห่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมไทย-จีนร่วมกัน

(People's Daily Online)วันอาทิตย์ 20 พฤศจิกายน 2022

ประเทศจีนและประเทศไทยมีการแลกเปลี่ยนกันมานาน วัฒนธรรมจีนก็ได้แพร่หลายเข้ามาสู่สังคมไทยด้วย เช่น “บ๊ะจ่าง” “น้ำส้มสายชูดำ” “โจ๊ก” และ“หม้อไฟ”  ถือว่าเป็นอาหารจีนที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และคำจีนบางคำก็ถูกยืมมาใช้ในภาษาไทยด้วย เช่น “ก๋วยเตี๋ยว” “กินเจ” ฯลฯ   เรามักจะพูดว่า “จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” ก็เพราะว่าวัฒนธรรมจีนได้แพร่เข้ามาในชีวิตประจำวันของคนไทยแล้ว และคนจีนกับคนไทยมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกันมานาน

ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ประเทศจีนมีการพัฒนาอย่างมากและได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับประเทศอื่นๆ  ตอนนี้นักเรียนไทยที่เริ่มเรียนภาษาจีนมีจำนวนมากขึ้น อาหารจีนและความบันเทิงจีนก็เริ่มเป็นที่นิยมในประเทศไทย นี่คือการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศในยุคใหม่

ภาษาเป็นเครื่องมือที่ผู้คนใช้ในการสื่อสาร และเป็นสายใยแห่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การเรียนภาษาต่างประเทศเปรียบเสมือนการเปิดหน้าต่างอีกบานหนึ่ง ในฐานะผู้เรียนและผู้สอนภาษาจีน เชื่อว่านักเรียนไทยสามารถเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมจีนได้ดี คนไทยจะมองเห็นวัฒนธรรมอันงดงามของประเทศจีน และตระหนักในคุณค่าของความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีมายาวนานระหว่างจีนและไทย

ใน 50 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาของภาควิชาภาษาจีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นได้รับการสนับสนุนจากจีนเป็นอย่างมาก เชื่อว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า ภาควิชาภาษาจีนแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาจีนให้ทั้งสองประเทศตามความต้องการของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง

 

ดร.พิชญา วิภาวีนุกูล

ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย