อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เพื่อเอาชนะความท้าทาย

(People's Daily Online)วันอังคาร 10 มกราคม 2023


ไมโครชิปที่ผลิตที่โรงงานในเมืองหวยอาน มณฑลเจียงซู (ภาพจาก China Daily/Zhao Qirui)

เติบโตในระยะยาวท่ามกลางสภาพแวดล้อมภายนอกที่รุนแรงขึ้น

เจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและผู้บริหารบริษัทกล่าวว่า อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนจะเอาชนะความท้าทายและบรรลุการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว จากแรงหนุนมหาศาลของตลาดในประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สอดคล้องในการวิจัยและพัฒนาตลอดจนความมุ่งมั่นที่จะบรรลุความก้าวหน้าในเทคโนโลยีหลัก ผู้สังเกตการณ์ในอุตสาหกรรมกล่าวว่าท่ามกลางสภาพแวดล้อมภายนอกที่รุนแรงขึ้น ซึ่งรวมถึงการการที่สหรัฐอเมริกาคุมเข้มการส่งออกชิปไปยังจีนมากยิ่งขึ้น จึงมีความพยายามมากขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิตชิปในประเทศเอาชนะอุปสรรคทางเทคโนโลยีในขณะที่กระชับความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ดังที่บิล เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟต์คาดการณ์ไว้ ข้อจำกัดของวอชิงตันไม่เพียงแต่ทำให้สหรัฐอเมริกาสูญเสียงานที่ได้รับค่าตอบแทนสูงไปเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นความพยายามของจีนในการพัฒนาเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ที่สำคัญอีกด้วย

ศาสตราจารย์ซี่อ หงซิ่ว (Shi Hongxiu) ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ของสถาบันธรรมาภิบาลแห่งชาติ กล่าวว่า “จีนสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของตนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหมายความว่าประเทศนี้มีสถานการณ์ที่เพียงพอในการตรวจสอบเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นเอง อันเป็นการลดต้นทุนการวิจัยและพัฒนาและเพิ่มความเร็วของการส่งออกผลิตภัณฑ์”  ในฐานะตลาดชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลก จีนแผ่นดินใหญ่มีเซมิคอนดักเตอร์กว่าครึ่งของโลก ซึ่งจากนั้นจะประกอบเป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีเพื่อส่งออกซ้ำหรือขายในตลาดภายในประเทศ ตามรายงานของบริษัทต้าเสวีย คอนซัลติ้งจำกัด (Daxue Consulting) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาการวิจัยตลาดและกลยุทธ์ของจีน ศาสตราจารย์ซี่อ หงซิ่วกล่าวว่า ควรให้ความสำคัญกับการสร้างระบบนิเวศสำหรับนวัตกรรม แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว พร้อมเสริม“ตราบใดที่เรามีช่องทางที่ถูกต้องในการตามให้ทันเทคโนโลยีชั้นนำของโลกและความรู้ที่ทันสมัย ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างประชากรที่แตกต่างกัน เราก็จะมีโอกาสมากมาย”

ที่ประชุมเศรษฐกิจส่วนกลางเมื่อเดือนที่แล้วเรียกร้องให้มีการสร้างความก้าวหน้าในเทคโนโลยีหลัก และยังย้ำถึงความจำเป็นในการเร่งการวิจัยและพัฒนาตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย นายเว่ย เจี้ยนกั๋ว (Wei Jianguo) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และรองประธานศูนย์แลกเปลี่ยนเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน กล่าวว่าที่ประชุมเน้นอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นของจีนที่จะมุ่งไปที่ภาคส่วนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ โดยระบุว่า“อุตสาหกรรมชิปขึ้นชื่อว่ามีเงินทุน ความสามารถ และเทคโนโลยีอย่างเข้มข้น ปัจจัยทั้งสามนี้ล้วนจำเป็นต่อการพัฒนาที่ดี เราต้องเร่งผลักดันการวิจัยและพัฒนาในประเทศของเรา” 

นายหวัง เจียงผิง (Wang Jiangping) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศ กล่าวว่า “จำเป็นต้องมีความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับปัญหาในเทคโนโลยีที่สำคัญ” หนึ่งในความสำคัญสูงสุดของกระทรวงในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะห้าปี ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2564-2568) คือการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมให้ทันสมัย และส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ พัฒนาเทคโนโลยีหลัก เช่น อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ระดับสูง ทางการท้องถิ่น เช่น นครเซี่ยงไฮ้ นครเทียนจิน มณฑลกวางตุ้งและเจ้อเจียงได้กำหนดให้วงจรรวมเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักในช่วงแผนห้าปีฉบับที่ 14

ข้อมูลเบื้องต้นจากสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนหรือ ซีเอสไอเอ. (China Semiconductor Industry Association- CSIA) ปีที่แล้ว รายได้จากการขายในภาคการออกแบบชิปของจีนสูงถึง 534.57 พันล้านหยวน (58.17 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 16.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าและแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของภาคส่วนท่ามกลางข้อจำกัดการส่งออกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวพิสูจน์ถึงสิ่งที่นาย บิล เกตส์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ในการให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์ก เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 เขากล่าวว่าการบีบบังคับให้จีนผลิตชิปของตัวเอง สหรัฐอเมริกา ไม่เพียงแต่จะไม่ได้งานที่ได้รับค่าตอบแทนสูง แต่ยังบังคับให้จีนต้องพึ่งตนเองด้วย


คนงานตรวจสอบไมโครชิปที่ผลิตในโรงงานในเมืองซีหง มณฑลเจียงซู (ภาพจาก China Daily/Xu Changliang)

ความสำคัญมากขึ้น

ศาสตราจารย์เว่ย เส้าจิน (Wei Shaojun) ประธานสาขาการออกแบบวงจรรวม สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนหรือ ซีเอสไอเอ. และเป็นศาสตราจารย์ด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อเสียงแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว กล่าวว่าการต้องเผชิญกับข้อจำกัดของวอชิงตัน “ไม่เพียงแต่บริษัทจีนเท่านั้น แต่บริษัทที่มาจากต่างประเทศที่ดำเนินกิจการในจีน กำลังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดการใช้ชิปที่ออกแบบในประเทศในวงกว้างขึ้น” และได้ไกล่าวเพิ่มเติว่าการปราบปรามของสหรัฐฯ ต่ออุตสาหกรรมชิปของจีนกำลังส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ของทั่วโลก

นายโตชิยะ ฮาริ (Toshiya Hari) หัวหน้านักวิเคราะห์ที่กำกับดูแลอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่ธนาคารเพื่อการลงทุนโกลแมน แซคส์ ประเมินว่าการควบคุมการส่งออกอุปกรณ์การผลิตชิประดับไฮเอนด์ของสหรัฐอเมริกาไปยังจีนอาจทำให้ผู้ผลิตเครื่องมือของโลกสูญเสียรายได้ไป 6 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของยอดขายที่ตั้งเป้าไว้

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าข้อจำกัดดังกล่าวก่อให้เกิดวิกฤตในหมู่ผู้ใช้ชิปขั้นปลาย ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงแสวงหาซัพพลายเชนที่ปลอดภัยโดยพึ่งพาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ชิปของสหรัฐฯ น้อยลง เป็นการเปิดโอกาสมากขึ้นสำหรับนักออกแบบชิปจีน ศาสตราจารย์เว่ย เส้าจิน จากซีเอสไอเอกล่าวว่า “บริษัทออกแบบชิปในประเทศหลายแห่งเผยว่าเมื่อปีที่แล้ว พวกเขาได้รับสิทธิ์ให้เข้าถึงบางตลาดที่พวกเขาพบว่าในอดีตยากที่จะเข้าไปได้”

นายหวง ชิง (Huang Qing) หุ้นส่วนผู้จัดการของวอลเดน อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของสหรัฐที่มุ่งเน้นการลงทุนข้ามพรมแดน กล่าวว่า ในขณะที่สหรัฐคุมเข้มเทคโนโลยีที่สำคัญอย่างเข้มงว รวมถึงโปรเซสเซอร์ระดับพรีเมียม จีนจึงมีโอกาสเพิ่มขีดความสามารถด้านเซมิคอนดักเตอร์ เขาเสริมว่า แม้จีนจะล้าหลังกว่าประเทศพัฒนาบางประเทศในด้านวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ขั้นพื้นฐาน อุปกรณ์การผลิตชิประดับไฮเอนด์ และเครื่องมือออกแบบชิป แต่จีนกลับเป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำระดับโลกที่รวมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ไว้ในโทรศัพท์มือถือ การสื่อสาร 5 จี และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย รถยนต์พลังงานใหม่ และด้านอื่นๆ บริษัทเหล่านี้มักจะร่วมมือกับซัพพลายเออร์ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา


คนงานกำลังผลิตไมโครชิปที่โรงงานในเมืองกานโจว มณฑลเจียงซี (ภาพจาก China Daily/Xu Changliang)

“แต่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดที่กว้างขึ้นจากสหรัฐอเมริกา พวกเขารู้สึกว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะทำงานร่วมกับบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของจีน บริษัทชิปของจีนมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นระดับโลกด้วยการให้บริการเทคโนโลยีรุ่นใหญ่ดังกล่าว” เขาเสริมว่าเฉพาะปี 2564 เพียงปีเดียว จีนแผ่นดินใหญ่นำเข้าชิปมูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์

นายจอห์น ลี (John Lee) ที่ปรึกษาสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นคลังสมองของอังกฤษกล่าวว่า “จีนกำลังกลายเป็นผู้เล่นหลักในห่วงโซ่มูลค่าชิปโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ความพยายามที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ไม่น่าจะตกราง” ขณะที่นายหลี่ เซียนจิ้น (Li Xianjun) นักวิจัยร่วมสถาบันเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งสถาบันสังคมศาสตร์จีนกล่าวว่าอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

จากข้อมูลของซีเอสไอเอ รายได้จากการขายสำหรับอุตสาหกรรมวงจรรวมของจีนเกิน 1 ล้านล้านหยวนเป็นครั้งแรกในปี 2564 โดยเติบโตร้อยละ 18% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในปี 2560 รายได้จากการขายของอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณ 540 พันล้านหยวน นับเป็นครั้งแรกที่ผู้ผลิตชิปจากแผ่นดินใหญ่สามรายมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของรายได้จากการหล่อโลหะทั่วโลกในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว จากข้อมูลของเทรนด์-ฟอร์ซ (Trend-Force) ผู้ให้บริการด้านการวิจัยตลาดและข่าวกรอง  “Foundry” (โรงหล่อ) เป็นศัพท์เฉพาะทางอุตสาหกรรมสำหรับการผลิตชิปตามสัญญา

จากข้อมูลที่รวบรวมโดยบลูมเบิร์ก ในเดือนมิถุนายน บริษัทชิปของจีนก็เติบโตเร็วขึ้นเช่นกัน ในช่วงสี่ไตรมาสที่ผ่านมา บริษัทอุตสาหกรรมชิปที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก 19 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศจีน เทียบกับปีที่แล้วที่มีเพียงแปดบริษัท นอกจากนี้ ยังมีสตาร์ทอัพที่มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น ณ เดือนพฤศจิกายน มีเซมิคอนดักเตอร์ยูนิคอร์นหรือสตาร์ทอัพ 50 รายที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในจีน มูลค่ารวมของพวกเขาอยู่ที่ 858.4 พันล้านหยวน ตามข้อมูลของนิวฟอร์จูน (New Fortune) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริการทางการเงิน พร้อมระบุด้วยว่าในบรรดาบริษัทเหล่านี้ 25 บริษัทเป็นบริษัทออกแบบชิป แปดบริษัทเชี่ยวชาญด้านหน่วยประมวลผลทั่วไป และอีก 5 บริษัทเป็นบริษัทผลิตชิปอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยูนิคอร์นยังปรากฏอยู่ในวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ อุปกรณ์การผลิตชิป และเครื่องมืออัตโนมัติที่ออกแบบด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดช่องว่างระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ในด้านเหล่านี้


คนงานกำลังปฏิบัติงานในสายการผลิตไมโครชิปที่โรงงานในเมืองซีหง มณฑลเจียงซู (ภาพจาก China Daily/Xu Changliang)

โอกาสพิเศษ

หนึ่งในสตาร์ทอัพที่น่าจับตาคือฮอไรซอน โรโบติกส์(Horizon Robotics) ซึ่งเป็นบริษัทจีนแห่งแรกที่ทำการค้าโปรเซสเซอร์ที่ออกแบบเองสำหรับการขับขี่อัตโนมัติ นายหยู ไข่ (Yu Kai) ซีอีโอบริษัทกล่าวว่ารถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะเป็นโอกาสพิเศษสำหรับจีนในการพัฒนาชิปปัญญาประดิษฐ์ พร้อมระบุ“ขณะนี้ จีนเป็นตลาดที่คึกคักที่สุดในโลกสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ และเป็นเวทีการแข่งขันสูงสุดสำหรับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกที่มุ่งเน้นการขับขี่อัจฉริยะ เราเชื่อว่าจีนจะกลายเป็นแหล่งนวัตกรรมที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ”

เมื่อเดือนตุลาคมโฟล์คสวาเกน (Volkswagen) ระบุจะลงทุน 2.4 พันล้านยูโร (2.55 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในจีน เพื่อร่วมกันพัฒนาฟังก์ชันช่วยการขับขี่กับฮอไรซอน โรโบติกส์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า การลงทุนนี้รวมถึงการตั้งกิจการร่วมค้า

นายหวัง ฉางหลิน (Wang Changlin) หัวหน้าสถาบันวิจัยเศรษฐกิจมหภาคในกรุงปักกิ่ง หน่วยงานในสังกัดคณะกรรมการการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจของประเทศ กล่าวว่า การแข่งขันระหว่างประเทศจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากทั่วโลกจะมีการผลิตชิปล้นตลาดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ตามการคาดการณ์ของเวิร์ล เซมิคอนดักเตอร์ เทรด สแตติสติก (World Semiconductor Trade Statistics) คาดว่าในปีนี้ตลาดเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกจะหดตัวร้อยละ 4 ที่ระดับ 557 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2562 โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อลดลง ซึงกระทบต่อการขายชิป นายหวัง ฉางหลิน ย้ำว่า“ในอนาคต อุตสาหกรรมชิปของจีนมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับข้อจำกัดมากขึ้น ดังนั้น เราจึงต้องสร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญในเทคโนโลยีที่สำคัญๆ”

ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมระบุอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนขาดบุคลากรที่มีความสามารถ   นายซุน หยิงถง (Sun Yingtong) ประธานบริษัทเนชั่นส์ เทคโนโลยี จำกัด (Nationz Technologies) บริษัทผู้ผลิตชิปของจีน กล่าวว่า “เรามีบุคลากรไม่มากพอ ไม่ใช่แค่ผู้ที่มีความชำนาญในเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และยินดีใช้เวลาหลายปีในการวิจัยและพัฒนา”


ผู้เข้าชมงานแสดงรถยนต์ในเมืองไหโข่ว มณฑลไหหลำ กำลังสนใจชิปที่ทำขึ้นสำหรับยานยนต์ (ภาพจาก China Daily/Chen Xiaogen)

บริษัท ซ๊ซีไอดี คอนซัลติ้ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่งระบุภายในปีข้างหน้าจีนจะขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถถึง 220,000 คนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เมื่อเป็นเช่นนี้กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจึงได้เผยแพร่แนวปฏิบัติในเดือนตุลาคม โดยเรียกร้องให้มีความพยายามมากขึ้นในการบ่มเพาะวิศวกรคุณภาพสูงสุด

นายโรเจอร์ เซิ่ง รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลกกล่าวว่าอุตสาหกรรมยังคงเผชิญกับความท้าทายใหญ่หลวง เนื่องจากต้องใช้เวลานานในกระบวนการลองผิดลองถูกเพื่อคัดเลือกผู้มีความสามารถ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในภาคการผลิตชิป เขากล่าวว่าขั้นตอนที่ยืดเยื้อนี้ต้องการข้อมูลระยะยาวและสม่ำเสมอ พร้อมเสริมว่า "ความสามารถและเวลาเป็นสิ่งสำคัญ"

นายจง ซินหลง (Zhong Xinlong) ที่ปรึกษาอาวุโสของศูนย์ที่ปรึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสารสนเทศแห่งประเทศจีน กล่าวว่าเนื่องจากข้อจำกัดที่กำหนดโดยสหรัฐอเมริกา จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเซมิคอนดักเตอร์กับชาติยุโรปและประเทศต่างๆ เช่น เกาหลีใต้ โดยระบุว่า“การเปิดกว้างเป็นเจตนารมณ์ของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ แม้จะมีสถานการณ์ระหว่างประเทศที่ซับซ้อน แต่เรายังคงต้องมีกรอบความคิดที่เปิดกว้างและครอบคลุม”

บริษัทชิปต่างชาติซึ่งรวมถึงบริษัทจากสหรัฐอเมริกาต่างตระหนักดีถึงตลาดอันไพศาลของจีน จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับธุรกิจในท้องถิ่น สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตั้งอยู่ในวอชิงตันซึ่งเป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมนี้ในสหรัฐอเมริกา ระบุในรายงานว่า “การเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่นี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสำเร็จของบริษัทชิปที่มีการแข่งขันระดับโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

นายแฟรงค์ เมิ่ง (Frank Meng) ประธานบริษัทควอลคอมม์ ไชน่า (Qualcomm China) กล่าวว่า “ตอนนี้เรามั่นใจมากขึ้นกว่าที่เคยว่ายังมีช่องว่างสำหรับความร่วมมือระหว่าง ควอลคอมม์และพันธมิตรในอุตสาหกรรมของจีน”

นายเซิน โป๋ (Shen Bo) รองประธานอาวุโสเอเอสเอ็มแอล (ASML) บริษัทผผู้ผลิตอุปกรณ์ผลิตชิปของเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า บริษัทจะยังคงให้การสนับสนุนอย่างเปิดเผยและมุ่งเน้นไปที่ตลาดจีน จีนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลกที่มีความร่วมมือสูง