บันทึกชีวิตในอวกาศ วิศวกรเปิดเบื้องหลังภารกิจท้าทายการสำรวจห้วงอวกาศของจีน

(CRI)วันศุกร์ 03 กุมภาพันธ์ 2023

หลายปีมานี้ จีนสร้างสถิติใหม่ด้านการส่งยานอวกาศต่อเนื่องกันหลายปี กลุ่มบุคลากรทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวัยหนุ่มสาวของศูนย์การควบคุมการบินอวกาศปักกิ่ง ได้ถือครองเทคโนโลยีสำคัญด้านการควบคุมการบินอวกาศกว่า 50 รายการ พวกเขาเป็นกลุ่มกำลังสำคัญในการสร้างสถานีอวกาศ การสำรวจดวงจันทร์ และการสำรวจดาวอังคารของจีน

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในการสร้างสถานีอวกาศนั้น การเชื่อมต่อ และการประกอบเข้าด้วยกันในอวกาศเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ยากและมีความสลับซับซ้อนที่สุด

ศูนย์การควบคุมการบินอวกาศปักกิ่งทำการวิจัยเกี่ยวกับการเชื่อมต่อและการประกอบเข้าด้วยกันในอวกาศอย่างรวดเร็ว รวมถึงการวิจัยเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้จีนขยับขึ้นเป็นประเทศที่ 3 ของโลกที่ถือครองเทคโนโลยีการเชื่อมต่อและการประกอบเข้าด้วยกันในอวกาศอย่างรวดเร็วในวงโคจรต่ำ


การส่ง “ฉางเอ๋อ-5” ไปสำรวจดวงจันทร์สำเร็จ วันที่ 24 พฤศจิกายน ปี 2020

ในการสำรวจดวงจันทร์ ยานสำรวจดวงจันทร์ “ฉางเอ๋อ-5” เป็นโครงการการบินอวกาศที่มีความสลับซับซ้อนและยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยีมากที่สุดของจีนตราบเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการจัดเก็บตัวอย่างบนภาคพื้นดวงจันทร์ ต้องใช้ความละเอียดแม่นยำสูงในการควบคุมแขนกลเพื่อจัดเก็บตัวอย่างบนภาคพื้นดวงจันทร์ภายในเวลาจำกัด อันเต็มไปด้วยความท้าทาย


แขนกลจัดเก็บตัวอย่างดินดวงจันทร์ของ “ฉางเอ๋อ-5”

หรง จื้อเฟย วิศวกรศูนย์การควบคุมการบินอวกาศปักกิ่งระบุว่า ในภารกิจการจัดเก็บตัวอย่างบนภาคพื้นดวงจันทร์ของ “ฉางเอ๋อ-5” เวลาการจัดเก็บตัวอย่างมีเพียง 30 ชั่วโมงเท่านั้น ทีมงานบนภาคพื้นดินควบคุมการจัดเก็บตัวอย่างทุกๆ 2 ชั่วโมง หลังจากปรับจากการจัดเก็บตัวอย่างทุกๆ 4 ชั่วโมง ทั้งทีมงานทำงานอย่างต่อเนื่อง 48 ชั่วโมง จึงเสร็จสิ้นภารกิจการจัดเก็บตัวอย่างบนภาคพื้นดวงจันทร์อย่างมีประสิทธิภาพ


ตัวอย่างบนภาคพื้นดวงจันทร์ที่ “ฉางเอ๋อ-5” นำกลับสู่โลก จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน วันที่ 28 มีนาคม 2021


แคปซูลส่งกลับและร่มชูชีพของ “ฉางเอ๋อ-5” จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน วันที่ 28 มีนาคม 2021

ในส่วนของการสำรวจดาวอังคารจะมีเงื่อนไขมากกว่าการสำรวจดวงจันทร์ สร้างความท้าทายไม่น้อยแก่ทีมงานภาคพื้นดินที่ควบคุมจากระยะไกล (ทางรีโมท) แต่ทีมงานได้สร้างระบบเทคโนโลยีการควบคุมการบินอวกาศจากระยะไกล (ทางรีโมท) ระหว่างดาวของจีนเป็นครั้งแรก ทำให้ “จู้หรง” (Zhu Rong) ยานสำรวจภาคพื้นดินดาวอังคาร (Mars Rover) ทำภารกิจตามเป้าหมาย 1 วันสามารถเดินทางได้ 20 เมตร และ 100 วัน เดินทาง 1,000 เมตร พร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูลสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่ทรงคุณค่ามากมาย