ศาลสูงสุดยกย่องความพยายามทางกฎหมายในการเรียกคืนโบราณวัตถุ

(People's Daily Online)วันพุธ 08 กุมภาพันธ์ 2023


นักโบราณคดีแสดงรูปปั้นพระพุทธเจ้าปางยืนที่ค้นพบในเมืองเสียนหยาง มณฑลส่านซี (ซินหัว/หลี่ อี้โป)

ศาลจีนประสบความสำเร็จในความพยายามกำหนดกฎเกณฑ์การพิจารณาคดีเพื่อช่วยเรียกคืนสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติจากต่างประเทศ เจ้าหน้าที่จากศาลสูงสุดของจีนกล่าวเมื่อวันอังคาร

นางหยาง หลินผิง รองประธานศาลประชาชนสูงสุด ระบุในการแถลงข่าว “เราแน่วแน่ต่อการสนับสนุนหน่วยงานรัฐบาลที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโบราณวัตถุในการปฏิบัติหน้าที่ และเราได้มุ่งเน้นในการกระตุ้นให้พวกเขามีบทบาทในการปกป้องโบราณวัตถุมากขึ้น”

เธอกล่าวขณะที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ 15 คดีที่เกี่ยวข้องกับโบราณวัตถุที่สำคัญของชาติ คดีที่เกี่ยวข้องกับพระสังฆราชจางกง พระพุทธรูปโบราณ เป็นขั้นตอนสำคัญของศาลจีนในการเรียกคืนโบราณวัตถุที่ตกไปอยู่ในมือต่างชาติให้กลับประเทศโดยผ่านมาตรการทางกฎหมาย ว่ารูปปั้นอายุ 1,000 ปีที่มีมัมมี่ของพระจาง ฉีซาน พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในด้านการช่วยเหลือผู้คนในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บและการประกาศหลักคำสอนทางพุทธศาสนาในช่วงราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ.1503-1722) โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมที่สำคัญซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดผู๋เจ้าเมืองซานหมิง มณฑลฝูเจี้ยน เพื่อให้ชาวบ้านในท้องถิ่นได้สักการะ และหายไปในปี พ.ศ.2538 จนกระทั่งพบว่ามีการนำไปจัดแสดงในนิทรรศการมัมมีเวิร์ลที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฮังการีที่บูดาเปสต์ในปี2558 ซึ่งได้รับความสนใจจากทั่วโลก

ที่ศาลประชาชนกลางซานหมิง มณฑลฝูเจี้ยน ชาวบ้านได้เริ่มฟ้องคดีแพ่งนายออสการ์ แวน โอเวอรีม สถาปนิกและนักสะสมชาวดัตช์ หลังจากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการขอให้ส่งคืนรูปปั้นดังกล่าวกระทั่งในปี พ.ศ. 2563 ศาลสั่งให้นายออสการ์ แวน โอเวอรีม คืนรูปปั้นให้กับหมู่บ้านหยางชุนและตงผู่ ในฝูเจี้ยนต่อมานักสะสมชาวดัตช์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูง โดยอ้างว่าเขาซื้อรูปปั้นดังกล่าวจากอัมสเตอร์ดัมเมื่อปี พ.ศ.2539 แต่ศาลสูงของมณฑลฝูเจี้ยนยังคงยืนคำตัดสินเดิม โดยระบุว่า นายออสการ์ แวน โอเวอรีม ไม่สามารถแสดงหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับการซื้อขายได้ ศาลสูงยังระบุว่ารูปปั้นดังกล่าวเป็นโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมที่ถูกขโมยและส่งออกอย่างผิดกฎหมาย โดยเสริมว่ารูปปั้นดังกล่าวสะท้อนถึงประเพณีดั้งเดิมทางตอนใต้ของฝูเจี้ยน และมีความหมายพิเศษสำหรับชาวบ้าน

นายกวน เฉียง รองหัวหน้าสำนักงานบริหารมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งเข้าร่วมการแถลงข่าวด้วย ยกย่องกรณีนี้ว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่ศาลจีนตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของโบราณวัตถุของจีนที่สูญหายในต่างประเทศ”  คดีนี้ซึ่งได้รับความสนใจทั้งในและต่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงความยุติธรรมของศาล พร้อมเสริมว่า “คดีนี้ยังเป็นการเปิดช่องทางใหม่ คือการฟ้องร้องทางแพ่ง เพื่อนำโบราณวัตถุที่สูญหายหรือถูกขโมยกลับประเทศของเรา”

เขาเปิดเผยว่าฝ่ายบริหารได้ลงนามข้อตกลงเพื่อป้องกันการโจรกรรม การขุดค้น และการเข้าและออกของโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมอย่างผิดกฎหมายกับ 24 ประเทศตั้งแต่การประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 ในปี พ.ศ.2555 โบราณวัตถุกว่า 1,800 ชิ้นที่เก็บรักษาในต่างประเทศได้ถูกนำกลับไปยังประเทศจีน ข้อมูลจากศาลสูงสุดระบุว่า ศาลจีนได้สรุปคดีเกี่ยวกับโบราณวัตถุและมรดกตกทอดไปแล้ว 12,407 คดีตั้งแต่ปี พ.ศ.2559