วัฒนธรรมและประเพณีเทศกาลหลงไถโถวของจีน

(People's Daily Online)วันอังคาร 21 กุมภาพันธ์ 2023


นักแสดงเชิดมังกรในเมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 (ภาพจากCFP)

เทศกาลหลงไถโถวแบบดั้งเดิมของจีนหรือเทศกาลมังกรเงยหัว ตรงกับวันขึ้นสองค่ำเดือนสองตามปฏิทินจันทรคติจีนของทุกปี และตระหนักถึงการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิและการทำไร่ไถนา ปีนี้ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ คนโบราณเชื่อว่าหลังจากวันนี้ไป ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากราชามังกรผู้บันดาลฝนได้ตื่นขึ้นจากการหลับใหลในฤดูหนาว วลีที่รู้จักกันดีคือ “เอ้อเยว่เอ้อ หลงไถโถว” แปลว่า “ในวันขึ้นสองค่ำเดือนสอง มังกรจะเงยหัวขึ้น”

 
เด็กชายจีนตัดผมเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลหลงไถโถว หรือเทศกาลมังกรเงยหัว ในเมืองเจาจวง
มณฑลซานตง ทางตะวันออกของจีน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562 (ภาพจากซินหัว)

เทศกาลนี้เฉลิมฉลองวัฒนธรรมเกษตรกรรมจีนโบราณ และในขณะที่วิถีดั้งเดิมบางอย่างในการเฉลิมฉลองไม่ได้ถือปฏิบัติอีกต่อไป แต่วิถีอื่นๆ ยังคงอยู่ ประเพณีที่โด่งดังที่สุดคือการตัดผม บางคนเชื่อว่าการตัดผมในวันนี้จะช่วยขจัดโชคร้าย ขณะที่บางคนเชื่อว่าการตัดผมในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติจะนำโชคร้ายมาให้ กับอีกคำกล่าวเตือนที่ว่าการตัดผมในเดือนแรกจะทำให้อาเสียชีวิต แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเพียงไม่กี่คนที่ให้ความสนใจ แต่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเพณีที่จะเข้าแถวนอกร้านตัดผมในวันหลงไถโถว โดยหลีกเลี่ยงการตัดผมในเดือนก่อนหน้า

ส่วนประเพณีการทำอาหารของเทศกาลหลงไถโถว  ในมณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกของจีนในช่วงเทศกาลผู้คนกินลูกชิ้นเต้าหู้ และมักจะทำเต้าหู้และลูกชิ้นผักเพื่อขอพรให้ครอบครัวและธุรกิจ ขณะที่ถั่วทอดเป็นอาหารเทศกาลแบบดั้งเดิมสำหรับผู้คนในพื้นที่ต่างๆ ของมณฑลซานตง

การรับประทานขนมเฉิงเหยาซึ่งทำด้วยข้าวเหนียว ในช่วงเทศกาลถือเป็นประเพณีของเมืองซูโจว มณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีน เพื่อเป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า “ถ้าคุณกินเฉิงเหยาที่หลงไท่โถว เอวของคุณจะไม่ปวดตลอดทั้งปี”


ชายคนนี้โชว์การทำบะหมี่เครามังกร(หลงซีว์)ในเมืองหลินเฟิน มณฑลซานซี ทางตอนเหนือของจีน (ภาพจาก
CFP)

ในขณะที่อาหารอื่นๆ เช่น เกี๊ยว ปอเปี๊ยะ และป๊อปคอร์น ตั้งชื่อตามอวัยวะของมังกรเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของวัน บะหมี่เครามังกร (หลงซีว์) เกี๊ยวคือหูของมังกร (หลงเอ๋อ) ปอเปี๊ยะเกล็ดมังกร (หลงหลิน) และป๊อปคอร์นเมล็ดมังกร (หลงจื่อ)