วรรณกรรมออนไลน์เสนอมุมมองใหม่แก่ทั่วโลกถึงเรื่องราวในอดีตและปัจจุบันของจีน

(People's Daily Online)วันอังคาร 14 มีนาคม 2023

ในนวนิยายเรื่องล่าสุดของกิตติศักดิ์ คงคา นักเขียนออนไลน์ชาวไทยวัย 33 ปี หนึ่งในสถานที่หลักคือร้านอาหาร เขาตัดสินใจที่จะทำให้ที่นี่เป็นร้านอาหารจีนในขณะที่เขียนเรื่องอาหารจีนเป็นที่นิยมและอินเทรนด์ในประเทศไทย เขากล่าว่า ผมคิดว่าร้านอาหารจีน (เป็นฉากหลัง) น่าจะน่าสนใจสำหรับเรื่องราวของผม

นวนิยายของกิตติศักดิ์ คงคา ได้รับรางวัลเหรียญทองจากเว็บโนเวล สปิริตี้ อวอร์ดส์ (Webnovel Spirity Awards: WSA) ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นงานประกวดการเขียนนวนิยายออนไลน์ระดับโลกที่จัดโดยเว็บโนเวล WebNovel ซึ่งแพลตฟอร์มวรรณกรรมออนไลน์ระดับโลกของบริษัทไชน่า ลิเทอร์เรเจอร์ จำกัด(China Literature Limited: CLL) จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2561 และมุ่งเป้าไปที่นักเขียนภาษาอังกฤษ การแข่งขันประจำปีเปิดให้นักเขียนภาษาอินโดนีเซียและภาษาไทยเป็นครั้งแรกในปี 2565 ปีที่แล้วมีผู้ส่งนวนิยายจากทั่วโลกมากกว่า 90,000 เล่ม และผู้เข้าร่วมสามคนจากประเทศไทย อินเดีย และปากีสถาน ได้รับรางวัลเหรียญทองตามลำดับ

ในพิธีมอบรางวัลซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา นักเขียนออนไลน์มากกว่า 20 คนจากประเทศและภูมิภาคต่างๆ เช่น เยอรมนี แคนาดา อินโดนีเซีย และไทย ตลอดจนแขกรับเชิญอีกหลายคนที่มีภูมิหลังทางวิชาชีพด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ได้หารือเกี่ยวกับพัฒนาการของวรรณกรรมออนไลน์ในจีนและทั่วโลก

วรรณกรรมออนไลน์ได้นำเสนอวิธีการที่กำลังเติบโตสำหรับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสำหรับจีนในการบอกเล่าเรื่องราวในอดีตและปัจจุบันให้โลกได้รับรู้ ในปี พ.ศ. 2564 งานวรรณกรรมออนไลน์ของจีนมากกว่า 10,000 เรื่องเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ โดยมีขนาดตลาดรวมกันมากกว่า 3,000 ล้านหยวน (ประมาณ 434 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามรายงานของสมุดปกฟ้าเกี่ยวกับวรรณกรรมออนไลน์ของจีนที่จัดพิมพ์โดยสมาคมนักเขียนจีน

รายงานที่เผยแพร่ในพิธีมอบรางวัลโดยบริษัทไชน่า ลิเทอร์เรเจอร์ จำกัดระบุว่า ณ สิ้นปี 2565 งานวรรณกรรมออนไลน์ของจีนประมาณ 2,900 เรื่องได้รับการแปลและเผยแพร่บนเว็บโนเวล(Webnovel) ดึงดูดผู้อ่านประมาณ 170 ล้านคนจากกว่า 200 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก ซึ่ง 75 เปอร์เซ็นต์มาจากกลุ่มเจเนอเรชั่นซี

ปิปโป ผู้จัดการอาวุโสบริษัท อุ๊คบี ยู จำกัด ผู้ให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชื่อดังของไทยที่ร่วมมือกับเว็บโนเวล กล่าวในพิธีมอบรางวัล “ผมรู้จักประเทศจีนจากการดูละครทีวี เช่น ตอนที่ผมยังเป็นเด็ก” วรรณกรรมออนไลน์ได้เปิดมุมมองใหม่ให้กับคนไทยในการมองประเทศจีนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนรุ่นใหม่ เนื่องจากคาดว่าเกือบร้อยละ 10 ของประชากรไทยมีนิสัยชอบอ่านนวนิยายบนแพลตฟอร์มของอุ๊คบี

ตามรายงานของบริษัทไชน่า ลิเทอร์เรเจอร์ จำกัดในการสนทนาออนไลน์กับผู้อ่านต่างประเทศในเว็บโนเวล เมื่อปีที่แล้ว พบว่าคำที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีนถูกพูดถึงมากกว่า 150,000 ครั้ง สิ่งต่างๆ เช่น อาหาร ศิลปะการต่อสู้ ศิลปะการดื่มชา แพนด้ายักษ์ และเมืองต่างๆ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง มาเก๊า และหางโจว ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด

ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว นวนิยายออนไลน์ของจีน 16 เรื่องได้รวมอยู่ในคอลเลกชันของหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ความเป็นจริง และแฟนตาซี รายงานระบุด้วยว่านอกเหนือจากการอำนวยความสะดวกในการเผยแพร่เรื่องราวของจีนไปทั่วโลกแล้ว ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมวรรณกรรมออนไลน์ของจีนยังได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมอุตสาหกรรมระดับโลก ดังที่แสดงให้เห็นในรายงาน โดยจำนวนนักเขียนออนไลน์ในต่างประเทศทั้งหมดบนเว็บโนเวล เพิ่มขึ้น 130 เปอร์เซ็นต์จากปี 2561 เป็น 2565 ประเทศห้าอันดับแรกที่มีจำนวนนักเขียนมากที่สุดบนแพลตฟอร์ม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และอังกฤษ ตามลำดับ

เจ้า ปี่เผิง ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจต่างประเทศบริษัทไชน่า ลิเทอร์เรเจอร์ จำกัดกล่าวว่าจีนมีห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่ค่อนข้างเติบโตสำหรับวรรณกรรมออนไลน์ โดยมีนวนิยายออนไลน์ยอดนิยมมากมายที่ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ซีรีส์โทรทัศน์ วิดีโอเกม และอื่นๆ ปัจจุบัน เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพชาวจีนในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาของงานวรรณกรรมออนไลน์ในต่างประเทศร่วมกับคู่ค้าในต่างประเทศ

ตั้งแต่ปี 2561 ราว 40 เปอร์เซ็นต์ของผลงานที่ได้รับรางวัลจากเว็บโนเวล สปิริตี้ อวอร์ดส์ ถูกแปลงเป็นแพลตฟอร์มมัลติมีเดียประเภทต่างๆ เช่น ซีรีส์โทรทัศน์ ละครวิทยุ และการ์ตูน บริษัทฯได้ประกาศแผนพัฒนาอาชีพใหม่สำหรับนักเขียนออนไลน์ในต่างประเทศ โดยตั้งเป้าที่จะใช้ประโยชน์จากศักยภาพในการดัดแปลงผลงานของพวกเขา

สำหรับกิตติศักดิ์ คงคา ซึ่งนวนิยายทั้งสามเล่มได้รับการดัดแปลงเพื่อลงจอในประเทศไทยแล้ว น่าเสียดายที่พลาดโอกาสในการร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตของจีนเมื่อหลายปีก่อน แต่ตอนนี้ เขามองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับโอกาสในอาชีพของเขาในจีน และหวังว่าจะได้รับแรงบันดาลใจใหม่ๆ จากวัฒนธรรมที่ไพศาลและหยั่งรากลึกของจีน