เขตอุตสาหกรรมกวนตัน มาเลเซีย-จีนประสบผลสำเร็จ

(People's Daily Online)วันพุธ 12 เมษายน 2023


ภาพถ่ายทางอากาศเขตอุตสาหกรรมมาเลเซีย-จีน ที่กวนตัน (MCKIP) ประเทศมาเลเซีย (เอื้อเฟื้อภาพโดย
บริษัท Beibu Gulf Holding [Malaysia] Sdn. Bhd.)

เขตอุตสาหกรรมมาเลเซีย-จีน ที่กวนตัน (MCKIP) ตั้งขึ้นในประเทศมาเลเซีย เป็นโมเดลความร่วมมือระหว่างจีนและมาเลเซียภายใต้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง BRI ซึ่งได้ส่งเสริมความร่วมมือที่ปฏิบัติได้จริงระหว่างจีนและมาเลเซีย รวมทั้งเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เขตอุตสาหกรรมประสบผลสำเร็จโดยได้ดึงดูดโครงการจำนวน 12 ราย ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้นมากกว่า 4 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 1.96 แสนล้านบาท) โครงการเหล่านี้ได้สร้างมูลค่าผลผลิตทางอุตสาหกรรมรวมทั้งสิ้นกว่า 3.5 หมื่นล้านหยวน

สร้างงานระยะยาวประมาณ 5,000 ตำแหน่ง และมีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณงานต่อปีประมาณ 10 ล้านตันของท่าเรือกวนตัน ซึ่งเป็นท่าเรืออเนกประสงค์ในมาเลเซีย

โครงการเหล่านี้สร้างมูลค่าผลผลิตทางอุตสาหกรรมรวมกว่า 3.5 หมื่นล้านหยวน สร้างงานระยะยาวประมาณ 5,000 ตำแหน่ง และมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณงานต่อปีของท่าเรือ Kuantan ประมาณ 10 ล้านตัน ซึ่งเป็นท่าเรืออเนกประสงค์ในมาเลเซีย

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 MCKIP ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเมืองกวนตัน รัฐปะหัง ประเทศมาเลเซีย กวนตันตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจชายฝั่งตะวันออก (East Coast Economic Region หรือ ECER) ของมาเลเซีย ใช้เวลาขับรถประมาณ 3 ชั่วโมง จากเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์

เขตอุตสาหกรรมชินโจวจีน-มาเลเซีย (CMQIP) ตั้งอยู่ในเมืองชินโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงในประเทศจีน แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมที่ก้าวล้ำ นั่นคือ โมเดล “สองประเทศ เขตอุตสาหกรรมแฝด”

“ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา MCKIP กลายเป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จที่สุดในเขต ECER” Baidzawi Che Mat ผู้บริหารของสภาพัฒนาเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคชายฝั่งตะวันออกกล่าว

พร้อมกล่าวเสริมว่า โมเดลสองประเทศ เขตอุตสาหกรรมแฝดของมาเลเซียและจีนประสบผลสำเร็จด้วยดี

บริษัท Alliance Steel (M) Sdn. Bhd. เป็นรายแรกในการเข้าสู่เขตอุตสาหกรรม MCKIP ใช้เวลาเพียง 18 เดือนเท่านั้นในการจัดกระบวนการสายการผลิตที่เต็มรูปแบบในเขตอุตสาหกรรมแห่งนี้

มีกำลังการผลิตต่อปีมากกว่าที่วางแผนไว้ที่ 3.5 ล้านตัน ส่งผลให้บริษัทฯ กลายเป็นหนึ่งในธุรกิจเหล็กที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดที่มีเทคโนโลยีครบวงจรสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กในมาเลเซีย และได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์สู่ตลาดโลก

สตีฟ หู จิวลิน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัท Alliance Steel (M) Sdn. Bhd. ยังจำได้ชัดเจนถึงภาพในท้องถิ่นที่เขาเห็นเมื่อมาถึงเมืองกวนตันครั้งแรก

“ตอนที่ฉันมาที่นี่ในปี 2014 สถานที่นี้เป็นภูเขาและแอ่งน้ำ และงานภาคพื้นดินเพียงอย่างเดียวก็ใช้เวลามากกว่าหนึ่งปี” หูกล่าว    “ใครจะคิดว่าเคยมีภูเขาอยู่ตรงที่ตั้งของอาคารสำนักงาน” เขาพูดพร้อมชี้ไปที่อาคารสำนักงานที่เขาทำงานอยู่

บริษัทฯ ในปัจจุบันมีถนนที่กว้างสะอาดและอาคารที่จัดไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ได้แก่ อาคารสำนักงาน อาคารโรงงานและหอพัก

“การออกแบบทางเทคโนโลยีและอุปกรณ์ของโครงการนี้มาจากประเทศจีนทั้งหมด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ก้าวหน้ามากที่สุดในอุตสาหกรรมนี้” หูกล่าว    เขากล่าวเสริมว่าในระหว่างการเยี่ยมชมของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบท้องถิ่นที่มาบริษัทฯ เจ้าหน้าที่ถามทันทีว่า “ทำไมที่นี่ถึงสะอาดจนดูไม่เหมือนโรงงานผลิตเหล็ก”

แววตาของเจ้าหน้าที่เบิกกว้างอย่างประหลาดใจเมื่อได้รู้ว่า โรงงานนี้ดำเนินงานตามมาตรฐานการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่สูงกว่าในระดับมาตรฐานท้องถิ่น และของเสียที่เป็นความร้อนและแก๊สที่ผลิตออกมาทั้งหมดระหว่างกระบวนการผลิตจะถูกนำไปรีไซเคิลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน การอนุรักษ์พลังงาน และลดการปล่อยคาร์บอน


พนักงานผลิตเหล็กในโรงงานของบริษัท Alliance Steel (M) Sdn. Bhd. (เอื้อเฟื้อภาพโดยบริษัท Beibu
Gulf Holding [Malaysia] Sdn. Bhd.)

บริษัท Alliance Steel (M) Sdn. Bhd. มีพนักงานมากกว่า 4,000 คน ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่กวนตันซึ่งยินดีกับเงินเดือนที่ได้รับ ซึ่งมากกว่าอัตราเงินเดือนโดยเฉลี่ยในท้องถิ่น

เมืองกวนตันตั้งอยู่ชายฝั่งทางตะวันออกค่อนข้างล้าหลังในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ คนหนุ่มสาวมักจะคุ้นเคยกับการไปทำงานที่เขตชายฝั่งทางตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างได้รับการพัฒนามากกว่า ตอนนี้บริษัทฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่ท้องถิ่น เขาสามารถทำงานใกล้บ้านได้ และคุณภาพชีวิตของเขาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด พนักงานท้องถิ่นกล่าวกับพีเพิลส์เดลี่

ผู้บริหารของสภาพัฒนาเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคชายฝั่งตะวันออกกล่าวว่า “การพัฒนา MCKIP ได้กระตุ้นการลงทุนในมาเลเซียและจีน ในขณะเดียวกันก็สร้างงานในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจัดการ ผู้รับเหมาและซัพพลายเออร์ในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นจำนวนมาก”

ท่าเรือกวนตันเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดบนชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซีย และเป็นเสาหลักสำหรับการพัฒนา MCKIP รัฐบาลมาเลเซียกำหนดให้เป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ

ในปี 2556 บริษัท Beibu Gulf Port Group ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีนได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นของท่าเรือกวนตัน และความร่วมมือระหว่างจีน-มาเลเซียได้นำพลังใหม่มาสู่ท่าเรือมาเลเซียที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 40 ปี

บริษัทจีนร่วมกับผู้ประกอบการมาเลเซียในการปรับปรุงท่าเรือกวนตันและกำลังดำเนินการขยายท่าเรือ

Ye Jingtao ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายปฏิบัติการของบริษัท Kuantan Port Consortium Sdn. Bhd. ซึ่งบริหารท่าเรือกวนตัน อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ท่าเรือใหม่นำเข้ามาจากจีนทั้งหมด เนื่องจากอุปทานในประเทศมีจำกัด เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ได้ดีบริษัท Beibu Gulf Port Group ได้เปิดตัวโปรแกรมการฝึกอบรม และส่งพนักงานไปยังท่าเรือของจีนเพื่อเรียนรู้

ภายใต้ความพยายามร่วมกันของทั้งฝ่ายจีนและมาเลเซีย ความสามารถในการจัดการของท่าเรือกวนตันได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณงานและรายได้เพิ่มขึ้นสองเท่าในปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน และในสามปีต่อมา ท่าเรือแห่งนี้ได้กลายเป็นท่าเรือสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ของมาเลเซีย และมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกขนาด 150,000 ตัน ใหม่อีกสองแห่ง

Baidzawi กล่าวว่า MCKIP และ CMQIP จะสร้างอุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นระหว่างมาเลเซียและจีน รวมทั้งกระชับความร่วมมือเชิงปฏิบัติในด้านการค้า การลงทุน ความร่วมมือทางเทคโนโลยี การท่องเที่ยว วัฒนธรรมและภาคส่วนอื่น ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ตามที่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เริ่มส่งผล