วัตถุประสงค์ของการหาเพื่อนออนไลน์ ร่วมทำกิจกรรมที่ชอบคล้ายกัน

(People's Daily Online)วันศุกร์ 21 เมษายน 2023


ภาพจาก CFP

เยาวชนจีนต่างมองหาเพื่อนที่ชอบกิจกรรมเดียวกันทางโซเชียลมีเดีย แต่ทว่าจุดประสงค์ในการติดตามเพื่อมีความสนใจเดียวกันมากกว่าการสร้างมิตรภาพที่ยาวนาน อวี่ หรันรายงาน

เสี่ยวหงชู (Xiaohongshu) หรือหนังสือแดงเล่มเล็กเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของจีนอันดับหนึ่งที่ผู้บริโภคหลายคนติดตามเรื่องความสวยงาม แฟชั่น การท่องเที่ยว อาหารและการศึกษา   สำหรับแพลตฟอร์มอื่น ๆ เหมาะสำหรับโพสต์ประสบการณ์ของชีวิตตัวเอง

แต่สำหรับจำนวนของเยาวชนที่ติดตามเติบโตขึ้นมาก แพลต์ฟอร์มนี้วิวัฒนาการเป็นอะไรที่มากกว่า มันไม่ได้เป็นสถานที่หาเพื่อนเท่านั้น แต่ยังเป็นที่หาเพื่อนร่วมกิจกรรมที่ชอบคล้ายกัน หรือในภาษาจีนเรียกว่า ตาจึ (da zi) ด้วย

คำว่า ตาจึ กลายเป็นคำที่ใช้กันทั่วไปบนแพลตฟอร์มนี้ โดยเฉพาะเมื่อต้นปีมานี้ ซึ่งมีหลายคนโพสต์ข้อความหาเพื่อนร่วมทำกิจกรรมที่ชอบด้วยกัน

แตกต่างจากคำว่ามิตรภาพ ความหมายของคำว่า “ตาจึ” เป็นเรื่องชั่วคราว เป็นมิตรภาพที่ผิวเผิน ความคิดนี้เป็นเรื่องง่าย เพราะเปรียบเหมือนการสุ่มคนที่ชอบทำกิจกรรมเดียวกันมาเจอกัน และสนุกกับกิจกรรมที่ชอบไปด้วยกัน วัตถุประสงค์ไม่ใช่เพื่อการทำความรู้จักกันให้ลึกซึ้งขึ้น แต่มิตรภาพที่ก่อกำเนิดขึ้นนับเป็นโบนัสที่ได้มา

แนวโน้มปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นขนานกับผลของการสำรวจความสนใจของคนเจนเนอเรชัน Z ในปี 2564 รายงานโดยแหล่งข่าวของ DT Finance กล่าวว่า เยาวชนจีนมองหาเพื่อนที่มีคุณสมบัติที่มีความสนใจร่วมกัน เป็นหนึ่งในสามปัจจัยในการมองหาเพื่อน

ตามรายงานการสำรวจของแอปพลิเคชันหาคู่ Tantan และสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์ของจีน ในปี 2563 เรื่อง “แนวความคิดและความสัมพันธ์ทางสังคมของคนที่เกิดในยุคหลังปี ค.ศ. 1995” ระบุว่า การเสาะหาเพื่อนที่ชอบในสิ่งเดียวกัน เป็นสามเหตุผลหลักในการใช้แอปโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ ร้อยละ 27 ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขาคิดว่าเป็นเรื่องง่ายในการหาเพื่อนทางออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ ร้อยละ 93 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า พวกเขาเปิดกว้างในการพบปะกับตัวจริงของผู้คนที่เขาเจอทางออนไลน์

บุคคลที่ได้ทำกิจกรรมที่ชอบร่วมกันต่างเห็นด้วยกับแนวโน้มของปัจจัยสองประการที่มีความเกี่ยวข้องกันอยู่ ประการแรกคือ อินเทอร์เน็ตช่วยให้ผู้คนเชื่อมต่อกันอย่างง่ายขึ้น และประการที่สองคือ เยาวชนโดยเฉพาะที่ยังอยู่ในวัยเรียนหรือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มที่จะมีสังคมที่แคบขึ้น

“นักศึกษามหาวิทยาลัยไม่ค่อยมีเพื่อนมากเหมือนกับคนวัยที่สูงอายุกว่าและกำลังอยู่ในวัยทำงาน เพื่อนของพวกเขามีเพียงเพื่อนร่วมชั้นเรียน ฉะนั้นจึงค่อนข้างยากที่จะหาคนร่วมกิจกรรมที่สนใจด้วยกัน การหาเพื่อนเพื่อร่วมกิจกรรมเดียวกันจากทางออนไลน์ เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายและมีผลดีกว่า” สวี ชือจิน ผู้จัดกลุ่มตาจึต่าง ๆ บนเสี่ยวหงชูกล่าว

หนุ่มวัย 25 ปี ก่อตั้งกลุ่มในเดือนกันยายน หลังจากเริ่มทำงานที่สถาบันการศึกษาในเซี่ยงไฮ้ เขากล่าวว่า “จุดประสงค์หลักของกลุ่มคือ การสร้างชุมชนนักศึกษามหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ ซึ่งผู้คนสามารถแบ่งปันข้อมูลและค้นหาคนที่มีความชอบทำกิจกรรมเดียวกัน” กลุ่มมีจำนวนสมาชิกประมาณ 2,500 คนภายในเวลาเพียงหกเดือน

จากนั้นเขาได้ตั้งกลุ่มใหม่เพื่อหาคนที่รักการเรียนภาษาอังกฤษและญี่ปุ่นเหมือนกัน คนหางาน แฟนคลับการ์ตูนและเกมต่าง ๆ กลุ่มเหล่านี้มีสมาชิกประมาณ 4,000 คน ซึ่งอายุอยู่ในวัย 18-30 ปี

อวี่ เสียวเสี่ยว ผู้อยู่ในวงตาจึ เพื่อหาเพื่อนที่ชอบรับประทานอาหารจีนแนวตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น บาร์บีคิว เหมือนกัน สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มใหม่เช่นนี้จะดำเนินไปแบบขยายวงใหญ่มากขึ้น

“การหาเพื่อนของคนที่สูงอายุกว่า ก็เกี่ยวกับการหาเพื่อนทำสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน ซึ่งแตกต่างจากบุคคลในวัยที่อ่อนกว่า นั่นคือ สิ่งที่พวกเขาต้องการทำนั้นมาก่อน ไม่สนใจว่าพวกเขาจะทำกิจกรรมกับเพื่อนหรือคนแปลกหน้า” คนวัย 31 ปีกล่าว

“คนที่เกิดหลัง ค.ศ. 1990 หรือ 2000 เติบโตในระยะเวลาของความไม่แน่นอนและการหลั่งไหลของข้อมูล ซึ่งการรักษามิตรภาพที่มั่นคงในระยะยาวอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย" เธอกล่าวเสริม