เซี่ยงไฮ้สร้างแรงจูงใจสนับสนุนการลงทุนของธุรกิจไทย
ไม่มีคำว่าขาดแคลนโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่
เซี่ยงไฮ้ มหานครอันเจริญรุ่งเรืองทางตะวันออกของจีนเป็นจุดหมายปลายทางในการดำเนินธุรกิจที่น่าสนใจจากนักลงทุนนานาชาติ นับตั้งแต่จีนได้เปิดประเทศเมื่อทศวรรษที่ 1980 ในการดำเนินการตามรอยพัฒนาต้นแบบ นครแห่งนี้กำลังขยายความร่วมมือกับหุ้นส่วนบริษัทจากไทยเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองระยะยาวร่วมกัน
“เซี่ยงไฮ้และไทยสามารถกระชับความร่วมมือด้านการค้า การผลิตระดับไฮเอนด์ และนวัตกรรมเพื่อปลดล็อกศักยภาพทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้า มหานครแห่งนี้ยังพยายามขยายความร่วมมือกับธุรกิจไทยเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ เช่น การออกแบบอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล การพัฒนาสีเขียว การท่องเที่ยว และการดูแลสุขภาพ” ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่คณะกรรมการการค้าเซี่ยงไฮ้ระบุ
ประเทศไทยมีแผนพัฒนาระยะเวลา 20 ปี ที่เรียกว่า “ไทยแลนด์ 4.0” มุ่งเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจจากการพึ่งพาการออกแบบผลิตภัณฑ์ไปสู่การใช้การพัฒนา การวิจัย และนวัตกรรมเป็นตัวนำ เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการค้าเซี่ยงไฮ้กล่าว “ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ การลงทุนและความร่วมมือระหว่างเซี่ยงไฮ้และไทยเป็นสิ่งสำคัญ”
เซี่ยงไฮ้เป็นบ้านของวิสาหกิจที่ได้รับเงินทุนจากต่างประเทศมากกว่า 60,000 ราย เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างชาติ 891 แห่ง และศูนย์วิจัย R&D ที่ลงทุนโดยต่างชาติ 531 แห่ง นักลงทุนระดับโลกกล่าวว่า ปัจจัยหลักในการดึงดูดการลงทุนคือ การพัฒนาอุตสาหกรรมที่มั่นคง ห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ เศรษฐกิจหลากหลายและบรรยากาศทางกฎระเบียบที่เป็นมิตร การลงทุน และยังมีแรงดึงดูดอื่น ๆ เช่น การลงทุนที่สำคัญในโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ระบบขนส่งที่ทันสมัย การศึกษาและการสนับสนุนสตาร์ทอัพ เซี่ยงไฮ้ดึงดูดโครงการลงทุนหลัก ๆ จำนวน 1,375 โครงการ ด้วยมูลค่ามากกว่า 1.2 ล้านล้านหยวน และตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ฯ มูลค่าการค้าระหว่างเซี่ยงไฮ้และไทยสูงถึง 8.66 พันล้านหยวน ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 4.76 เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน
ในปี 2565 นักลงทุนไทยได้จัดตั้งธุรกิจใหม่จำนวน 10 บริษัทในเซี่ยงไฮ้ด้วยมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 9.14 ล้านเหรียญสหรัฐ
ภาพจาก CFP
พื้นที่สำหรับการลงทุนอันดับต้น
ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน ได้กำหนดลักษณะสำคัญของเซี่ยงไฮ้โดยเขาเลือกสำนวนจีน “hai na bai chuan” ซึ่งแปลว่า ทะเลโอบกอดแม่น้ำทุกสาย คำนี้ใช้เพื่ออธิบายความใจกว้างที่รองรับธุรกิจ และแนวคิดต่าง ๆ เหมือนกับมหาสมุทรที่รองรับแม่น้ำจากทุกทิศทุกทาง
“โมเดลธุรกิจ ผู้มีพรสวรรค์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่ยอดเยี่ยมจากทั่วโลกมารวมตัวกันและสร้างผลิตผลใหม่ที่นี่” เขากล่าวพร้อมเสริมว่า “ด้วยการส่งเสริมเส้นทางจีนสู่ความทันสมัยอย่างครอบคลุม เซี่ยงไฮ้จะเป็นแนวหน้าของจุดหมายการลงทุน”
“บริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ ธนาคารกรุงเทพ สหยูเนี่ยนอินเวสเมนท์ และอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์นต่างตั้งหลักอยู่ในเมืองนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน โลจิสติกส์ การผลิต การค้าระหว่างประเทศ บริการ หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว บริษัทไทยใช้ประสบการณ์ระดับมืออาชีพและรักษามิตรภาพแบบดั้งเดิมของ ‘ครอบครัวจีน-ไทย’ เพื่อเข้าร่วมและเป็นสักขีพยานในกระบวนการพัฒนาของเซี่ยงไฮ้” ไพจิตรกล่าว
“ปัจจัยแรกและสำคัญที่สุดที่บริษัทไทยพิจารณาในการเลือกจุดหมายปลายทางการลงทุนคือความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับสูง รองลงมาคือขนาดตลาดที่ใหญ่และเติบโต และระบบนิเวศของอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาอย่างดี เซี่ยงไฮ้ได้รับคะแนนสูงสุดมาโดยตลอดในด้านเหล่านี้” ไพจิตรกล่าวเพิ่มเติม
การขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มบริษัทซีพีเริ่มต้นการเดินทางในเซี่ยงไฮ้ด้วยการร่วมทุนกับ SAIC Motors เพื่อผลิตรถมอเตอร์ไซค์ในปี 2528 ทุกวันนี้ กลุ่มบริษัทได้ลงทุน 15 โครงการ มูลค่า 2.4 พันล้านดอลลาร์ ในภาคอุตสาหกรรม การเกษตร การเงิน อสังหาริมทรัพย์ การค้าปลีกเชิงพาณิชย์ และการนำเข้าและส่งออก
ธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการอาวุโสของกลุ่มบริษัทเจียไต๋กล่าวว่า “เซี่ยงไฮ้มีสภาพแวดล้อมการลงทุนที่ดีที่สุด มอบโอกาสที่ยอดเยี่ยมสำหรับการลงทุนที่เป็นประโยชน์และให้ผลกำไรร่วมกัน”
ตลอด 38 ปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทซีพีประสบความสำเร็จเป็นรายแรกในจีน รวมถึงการกลายเป็นองค์กรต่างชาติรายแรกที่ลงทุนในการผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศเมื่อรายการวาไรตี้โชว์เจิ้งต้า (Zhengda Variety Show) ได้เปิดตัวทาง China Central Television ในปี 2533 กลุ่มบริษัทยังได้ให้ทุนสนับสนุนการก่อสร้างอาคาร CP Plaza ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของเซี่ยงไฮ้ ในเขตลู่เจียจุ่ย (Lujiazui) ของเมืองในปี 2545
“กลุ่มบริษัทซีพี รู้สึกประทับใจกับจิตวิญญาณของเมืองที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และค่านิยมหลักของการเปิดกว้าง นวัตกรรม และการไม่แบ่งแยก นอกจากนี้ เครือซีพียังชื่นชมรูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล ซึ่งให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ มาตรฐาน และความมุ่งมั่นในการรักษาคำมั่นสัญญา ปัจจัยเหล่านี้ได้ร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมการลงทุนที่เอื้ออำนวยต่อกลุ่มซีพีในเซี่ยงไฮ้” นายธนากรกล่าว
เขากล่าวเสริมว่า “กลุ่มซีพีจะยังคงลงทุนในเซี่ยงไฮ้ต่อไปโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมค้าปลีกเชิงพาณิชย์ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด บริษัทจะปรับโครงสร้างธุรกิจค้าปลีกเชิงพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนเซี่ยงไฮ้ในฐานะศูนย์กลางการบริโภคทั่วโลก ในขณะที่มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมเภสัชกรรม การผลิต ยานยนต์ และอุตสาหกรรมส่งเสริมการดำรงชีวิตเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ
ธนาคารกสิกรไทย หรือที่รู้จักกันในชื่อ Kbank หนึ่งในสถาบันการเงินชั้นนำของไทย เปิดตัวสาขาเซี่ยงไฮ้ในปี 2560 และมีแผนจัดตั้งบริษัทจัดการกองทุนหุ้นส่วนจำกัดต่างประเทศและกองทุน QFLP ในพื้นที่พิเศษของโครงการนำร่องเขตการค้าเสรีหลินกั่ง (Lin gang) ในเซี่ยงไฮ้ เพื่อเสริมสร้างการเติบโตของธุรกิจ ธนาคารกำลังขออนุมัติโควต้า 1.5 พันล้านหยวน
“เซี่ยงไฮ้มีระบบนิเวศที่มีชีวิตชีวาและสนับสนุนการลงทุน” ณัทธร ชัยพฤกษ์ รองประธานอาวุโสธนาคารกสิกรไทยกล่าว “การจัดตั้งกองทุน QFLP ในเซี่ยงไฮ้ครั้งนี้จะเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของธนาคารกสิกรไทยในการเข้าสู่ตลาดการลงทุนหุ้นในตลาดจีน ซึ่งจะเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างทรัพยากรและพันธมิตรของธนาคารกสิกรไทย เพื่อยกระดับการพัฒนาธุรกิจของเราในจีนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”
ณัทธรอ้างถึงปัจจัย 3 ประการในการเลือกหลินกั่งเพื่อดำเนินโครงการใหม่ ได้แก่ การกระตุ้นนโยบายที่แข็งแกร่งซึ่งครอบคลุมถึงแรงจูงใจด้านภาษี การอำนวยความสะดวกด้านกองทุนข้ามพรมแดน และการกำหนดอัตราภาษี สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดีและระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง บริการทางการเงิน และอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง เขตการค้าเสรีหลินกั่งก่อตั้งขึ้นในปี 2562 และได้กลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การผลิตขั้นสูง การค้าระหว่างประเทศ บริการทางการเงินข้ามพรมแดน การขนส่งที่ทันสมัย และนวัตกรรม
ภาพจาก CFP
ผลักดันอนาคตที่สดใส
เซี่ยงไฮ้จะเพิ่มข้อได้เปรียบในการเป็นบทบาทที่กว้างขึ้นเพื่อสนับสนุนนักลงทุนระดับโลกเข้าสู่จุดหมายปลายทางที่ยิ่งใหญ่กว่าในยุคหลังการแพร่ระบาดนี้ ปีนี้ รัฐบาลเซี่ยงไฮ้จะดำเนินแผนเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงตลาด และเพิ่มการสนับสนุนด้านนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการเพื่อเสริมสร้างแรงดึงดูดให้นักลงทุน
ในการประชุมการส่งเสริมการลงทุนระดับโลกที่เซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีการประกาศนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ถึง 24 ฉบับ รวมถึงแผนการจูงใจเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกและดึงดูดโครงการสำคัญ ๆ มาสู่ภูมิภาค
ตัวอย่างเช่น โครงการสำนักงานใหญ่สามารถมีสิทธิ์รับเงินช่วยเหลือสูงถึง 10 ล้านหยวนสำหรับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และโครงการลงทุนขนาดใหญ่สามารถรับเงินช่วยเหลือสูงถึง 100 ล้านหยวน สินเชื่อส่วนลดและเงินอุดหนุนการเช่าทางการเงินจะมอบให้กับธุรกิจที่มีแผนจะขยายกำลังการผลิต
เซี่ยงไฮ้ยังพร้อมที่จะต้อนรับนักลงทุนชาวไทยด้วยแพลตฟอร์มและบริการระดับมืออาชีพ เอ็กซ์โปนำเข้าสินค้านานาชาติจีน (China International Import Expo หรือ CIIE) ของเมืองซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤศจิกายน ได้กลายเป็นเวทีหลักในการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจีนแก่ธุรกิจไทย นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแนะนำอาหารและสินค้าเกษตรแก่ผู้บริโภคชาวจีน
ตั้งแต่ปี 2561 บริษัท Orient International(Holding) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการชั้นนำในท้องถิ่น ได้นำผู้ประกอบการไทยกว่า 10 รายเข้าร่วมงาน CIIE ด้วยพื้นที่จัดแสดงรวมกว่า 2,000 ตารางเมตร เพื่อจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผลไม้ ผลิตภัณฑ์น้ำยาง เสื้อผ้า และเครื่องประดับ
จิน ตันเหยียน ผู้จัดการทั่วไปของ Orient International Business Group ชี้ให้เห็นว่าความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค RCEP ซึ่งลงนามในปี 2565 จะส่งเสริมการค้าระหว่างจีนและไทย
เชื่อมต่อธุรกิจ
เซี่ยงไฮ้เป็นที่ให้บริการทั้งโอกาสการลงทุนของนักธุรกิจไทยในจีน และเป็นสะพานเชื่อมบริษัทสัญชาติจีนไปลงทุนในประเทศไทยด้วย
ตามข้อมูลการค้าของคณะกรรมาธิการนครเซี่ยงไฮ้ ระหว่างปี 2555-2565 มีรัฐวิสาหกิจและองค์กรต่าง ๆ จากเซี่ยงไฮ้เข้าลงทุนโดยตรงในไทยถึง 52 โครงการ
ในเดือนมีนาคม ยานยนต์พลังงานใหม่ของจีน แบรนด์ Neta (ซึ่งมีสำนักงานใหญ่บริหารจัดการ ศูนย์วิจัยพัฒนาและแผนกการตลาดในเซี่ยงไฮ้ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2564) ได้ตั้งฐานการผลิตในกรุงเทพฯ เพื่อสร้างแรงขับดันในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวา และสนับสนุนการส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งยังได้มีการลงนามในสัญญาความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทไทย (BGAC) เพื่อสร้างฐานผลิตชิ้นส่วนและระบบนิเวศของรถยนต์ไฟฟ้าที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
บริษัทฯ ให้ข้อมูลว่า ความก้าวหน้าสองประการนี้เป็นความสำคัญของการเข้าสู่การพัฒนาที่มั่นคงและรวดเร็วเฟสใหม่ในอาเซียน และเป็นก้าวใหม่ในความพยายามระดับโลกาภิวัตน์ เหตุผลในการก่อตั้งธุรกิจที่เซี่ยงไฮ้ ด้วยเพราะพนักงานที่มีความสามารถของเมือง ข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ และรากฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
ธนาคารแห่งชาติจีน สาขาเซี่ยงไฮ้ ซึ่งให้บริการวิสาหกิจต่างชาติจำนวนมากต่างกระตือรือร้นที่จะใช้ความชำนาญของตนในการสนับสนุนธุรกิจของไทย เพื่อสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นได้ในเซี่ยงไฮ้
ด้วยประสบการณ์ในการให้บริการบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 และสำนักงานใหญ่ที่ได้รับทุนจากต่างประเทศ ธนาคารจึงให้บริการทางการเงินที่ครบวงจรสำหรับนักลงทุนชาวไทย ตลอดจนผลิตภัณฑ์การจัดการเงินสดระดับโลกและผลิตภัณฑ์การจัดการแบบรวมศูนย์
การสร้างผลประโยชน์และความชำนาญระดับสากลในสาขาต่าง ๆ เช่น การเงินเทคโนโลยี การเงินข้ามพรมแดน และการเงินห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ ธนาคารยังคงดำเนินการสร้างระบบผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและปรับปรุงศักยภาพในการบริการทางการเงิน ซึ่งช่วยส่งเสริมด้านการเงินของวิสาหกิจไทยที่มาลงทุนและพัฒนาในเซี่ยงไฮ้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น