ยานอวกาศจีนกลับสู่โลกหลังจากวันทดลองที่ 276

(People's Daily Online)วันอังคาร 09 พฤษภาคม 2023

ยานอวกาศถูกนำกลับมาใช้งานอย่างกว้างขวาง

ข้อมูลจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียนในทะเลทรายทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนระบุว่า ยานอวกาศสำหรับการทดลองสามารถนำมาใช้ใหม่ได้อีกถูกส่งกลับมายังโลกเมื่อเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมาหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจเดินทางรอบวงโคจรจำนวน 276 วัน

ความสำเร็จในการทดลองเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในเทคโนโลยียานอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ของจีน ซึ่งเป็นวิธีการเคลื่อนย้ายที่สะดวกระหว่างโลกและอวกาศ ด้วยราคาที่เหมาะสม

ยานอวกาศหุ่นยนต์ถูกส่งโดยจรวจลองมาร์ช 2F จากศูนย์จิ่วเฉวียนเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ตามข้อมูลจาก China Aerospace Science and Technology Corp ระบุว่า ได้มีการทดสอบยานอวกาศหุ่นยนต์ในแง่ของเทคโนโลยีการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อวางพื้นฐานทางเทคโนโลยีในการใช้อวกาศอย่างสันติ

ภารกิจนี้เป็นครั้งที่สองที่จีนเปิดเผยอย่างเป็นสาธารณะในการดำเนินการนำยานอวกาศทดลองกลับมาใช้ใหม่

การทดลองบนวงโคจรครั้งก่อนของจีนด้วยยานพาหนะทดลองได้ทำขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2563 ด้วยการเดินทางของยานในวงโควรเพียงสองวันเท่านั้น

ปัจจุบันมีเพียงประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาที่มียานอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งสหรัฐฯได้เริ่มแนวคิดนี้ครั้งแรกเมื่อทศวรรษที่ 1970 สัญลักษณ์คือ กระสวยอวกาศของสหรัฐฯ ซึ่งถูกดำเนินงานมากว่าสามทศวรรษก่อนที่จะปลดระวางในปี 2554 เนื่องจากปัญหาทางเทคนิคและการเงิน

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ได้จุดประกายความทะเยอทะยานในอุตสาหกรรมอวกาศในเรื่องการมียานอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเฉพาะยานอวกาศหุ่นยนต์ เช่น โบอิ้ง X-37B ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ถูกกว่าและมีการออกแบบ การผลิตและการดำเนินงานที่ซับซ้อนน้อยกว่า

ตามที่ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าว ยานอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้จะมีการใช้งานในวงกว้างขึ้นในอนาคต เช่น การนำประชาชนท่องเที่ยวในอวกาศ การขนส่งนักบินอวกาศ การส่งสิ่งของอุปโภคบริโภคไปยังสถานีอวกาศ และการนำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรด้วยเงินทุนที่ต่ำกว่า

บริษัทเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ทางอวกาศได้ทำการศึกษาวิจัยและทดลองเทคโนโลยีการนำกลับมาใช้ใหม่สำหรับโปรแกรมอวกาศของพวกเขาเป็นเวลาหลายปี

สองบริษัททางเทคโนโลยีของจีน คือ China Aerospace Science and Technology Corp และ China Aerospace Science and Industry Corp เป็นซัพพลายเออร์สองรายใหญ่ที่สุดของจรวดและยานอวกาศของจีนกำลังดำเนินโครงการของตนเอง

หวาง หย่าหนาน บรรณาธิการใหญ่ของนิตยสารความรู้ทางอวกาศกล่าวว่า การดีไซน์และสร้างยานอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ค่อนข้างท้าทายในมุมของเทคโนโลยีและวิศวกร เนื่องจากยานพาหนะดังกล่าวจำเป็นต้องมีการกำหนดค่าแอโรไดนามิกที่ทันสมัย วัสดุที่ซับซ้อนชั้นยอด และเทคนิคการผลิตอันล้ำสมัย

“ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์จะต้องสามารถทำงานได้ในสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติงานและวิธีการที่แตกต่างกัน และต้องมีระดับความน่าเชื่อถือสูงมาก เนื่องจากยานอวกาศบินอยู่ทั้งในชั้นบรรยากาศและในอวกาศ ซึ่งมีสภาพการทำงานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง” เขากล่าว