ระบบสำรวจระยะไกลทางอากาศของจีนพบข้อมูลการตรวจจับธารน้ำแข็งบนภูเขา

(People's Daily Online)วันอังคาร 16 พฤษภาคม 2023


ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ทิวทัศน์ของเขตฉีเหลียนในเมืองไหเป่ย เขตปกครองตนเองทิเบต
มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน (ซินหัว/จาง หลง)

ระบบสำรวจระยะไกลทางอากาศของจีนได้รับข้อมูลการตรวจจับธารน้ำแข็งบนภูเขาที่มีประสิทธิภาพผ่านการทดลองตรวจจับแบบรวมที่กำลังดำเนินอยู่

สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนและมหาวิทยาลัยอู่ฮั่นกำลังดำเนินการทดลองทางวิทยาศาสตร์ภาคพื้นดินเพื่อทดสอบสภาพของธารน้ำแข็งในเมืองไหเป่ย เขตปกครองตนเองทิเบต มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

การทดลองได้รับข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด 4.6 เทราไบต์ โดยใช้เรดาร์ใน 3 ย่านความถี่ ได้แก่ ความถี่แบนด์ P ความถี่แบนด์ L และความถี่สูงมาก (VHF) และดำเนินการ 11 เที่ยวบิน โดย 7 เที่ยวบินดำเนินการถ่ายภาพแบบเอกซเรย์และอินเตอร์เฟอโรเมท และ 4 เที่ยวบินดำเนินการถ่ายภาพแบบเปอร์สเป็คทีฟ

การทดลองยังรวมถึงการสำรวจแสงที่มองเห็นได้และสังเกตการบินของพื้นผิวน้ำแข็ง การสอบเทียบเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์พื้นผิวของพื้นน้ำแข็ง การตรวจวัดความหนาของธารน้ำแข็งโดยใช้เรดาร์ทะลุพื้นดิน และการถ่ายภาพระยะไกลสามมิติแบบคลาวด์

ข้อมูลที่ได้รับแสดงให้เห็นว่าการสร้างภาพสามมิติสามารถสะท้อนให้เห็นแนวโน้มการยกระดับพื้นผิวของธารน้ำแข็งได้ และเส้นเขตแดนระหว่างน้ำแข็งและชั้นบรรยากาศ และระหว่างธารน้ำแข็งและชั้นหิน นักวิจัยใช้ข้อมูลเพื่อระบุตำแหน่งของความผิดปกติทางไฟฟ้าซึ่งทำขึ้นที่ความลึก 80 เมตรในหลุมเจาะแกนกลางที่เป็นน้ำแข็ง

การทดลองได้พิสูจน์ให้เห็นถึงเทคนิคการสำรวจคุณลักษณะของธารน้ำแข็งที่ซับซ้อน และทดสอบความเป็นไปได้ของการทดลองร่วมกันระหว่างย่านความถี่ทั้งสามที่กล่าวข้างต้น รวมทั้งยังได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งศูนย์ข้อมูลที่ราบสูงทิเบตแห่งชาติจีนจะนำมาข้อมูลมาแบ่งปัน

อู๋ อี้หรง หัวหน้าสถาบันวิจัยข้อมูลทางการบินและอวกาศประจำสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนยอมรับว่าการทดลองของความถี่ VHF ถือเป็นการตรวจจับธารน้ำแข็งทางอากาศครั้งแรกที่สถาบันพัฒนาขึ้นอย่างอิสระ  และก็เป็นครั้งแรกที่เครื่องบินสำรวจระยะไกล MA60 ในประเทศบินขึ้นสูงกว่า 4,500 เมตรในบริเวณพื้นที่หุบเขา

กง เจียนยา หัวหน้าภาควิศวกรรมสารสนเทศการสำรวจระยะไกล มหาวิทยาลัยอู่ฮั่นกล่าวว่า “การทดลองนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีตรวจจับธารน้ำแข็งในประเทศ รวมทั้งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เรื่องการเปลี่ยนแปลงระดับโลก”  และเสริมว่าการทดลองจะให้ข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญต่อการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของดาวเทียมเรดาร์รูรับแสงสังเคราะห์ความถี่แบนด์ P ของพลเรือน

การทดลองเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 20 มีนาคมและมีแผนการดำเนินการเสร็จสิ้นในกลางเดือนพฤษภาคม