จีนให้ความสำคัญกับการแสวงหาความยั่งยืนในระยะยาว

(People's Daily Online)วันพุธ 24 พฤษภาคม 2023


ภาพจาก CFP

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงและนักธุรกิจชื่อดังจากทั่วโลกได้หารือเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยาวของจีนและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ในงานฟอรั่มการเงินระดับโลกที่เพิ่งปิดฉากไปในกรุงปักกิ่ง

การประชุม Tsinghua PBCSF Global Finance Forum ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ครอบคลุมหัวข้อตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรมพลังงานสะอาดและเปลี่ยนผ่านเป็นดิจิทัลไปจนถึงการเติบโตทั่วโลก

นายจอร์จี มาทอลชี ผู้ว่าการธนาคารกลางฮังการี (Magyar Nemzeti Bank) ระบุ “จีนทำได้ดีมากในการหาทางออกเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว ตอนนี้จีนเป็นโรงงานของโลก นอกเหนือจากการเป็นศูนย์กลางของพลังงานสะอาด ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน รวมถึงเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งยังเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจและการเงินโลกได้ย้ายจากตะวันตกไปยังยูเรเชีย โดยเฉพาะที่จีน”

ข้อมูลทางการระบุว่า ณ สินเดือนเมษายน 2566 กำลังการผลิตพลังงานสะอาดที่ติดตั้งของจีนมีการขยายตัว โดยการผลิตพลังงานลมอยู่ที่ประมาณ 380 ล้านกิโลวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 และกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่ 440 ล้านกิโลวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

จีนยังได้เพิ่มการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน โดยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน การลงทุนทั้งหมดของบริษัทพลังงานรายใหญ่ของจีนในพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่ 74,300 ล้านหยวน (ประมาณ 10,570 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 156.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

เอริค เบิร์กลอฟ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank) กล่าวในฟอรั่มว่า “จีนประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ราคาพลังงานหมุนเวียนต่ำลง และในการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ใหม่และดีกว่าเดิม นอกจากนี้ จีนเพิ่มส่วนแบ่งในห่วงโซ่ของโลก และควรลดการปล่อยคาร์บอนอย่างจริงจัง”

ตัวอย่างสำคัญ เช่น ความพยายามของจีนในการลดความเข้มของการปล่อยคาร์บอนโดยเร่งบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสูงสุดก่อนปี พ.ศ. 2573 และความเป็นกลางทางคาร์บอนก่อนปี พ.ศ. 2603

ผู้ร่วมฟอรั่มระบุว่า การปรับตัวตามกระแสการใช้เงินดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ทำให้จีนโดดเด่นในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว

นายเบิร์กฮาร์ด บัลซ์ หนึ่งในคณะกรรมการบริหารของด็อยท์เชอบุนเดสแบงค์ (Deutsche Bundesbank) ซึ่งเป็นธนาคารกลางของเยอรมนี ชี้ให้เห็นว่า ระบบการชำระเงินผ่านมือถือในประเทศจีนประสบความสำเร็จอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่ในยุโรปส่วนใหญ่ยังคงใช้เงินสด เขากล่าวว่าธนาคารประชาชนจีน (PBOC) ซึ่งเป็นธนาคารกลางของจีน มีความก้าวหน้าอย่างมากในการดำเนินการเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง และธนาคารกลางทั่วโลกควรคว้าโอกาสในการแบ่งปันประสบการณ์ และมีส่วนร่วมการหารือโดยมีเป้าหมายเพื่อการเรียนรู้จากผู้อื่น” เขากล่าวเสริม

ตามข้อมูลของธนาคารกลางจีน ณ สิ้นปี 2565 เงินหยวนดิจิทัลที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจจีนอยู่ที่ 13,600 ล้านหยวน โดยมีการใช้ มูลค่าธุรกรรมและจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงระบบการจัดการและการคำนวณที่เกี่ยวข้อง

นายจาง เซียงเฉิน รองผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (World Trade Organization) กล่าวว่าการค้าระหว่างประเทศในอนาคตจะเป็นแบบดิจิทัล และเสริมว่าแนวโน้มของการเปลี่ยนผ่านเป็นดิจิทัลกำลังเปลี่ยนวิธีดั้งเดิมในการซื้อขายสินค้าและบริการ และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และวิธีการซื้อขายใหม่ ๆ มากมาย

นายไมเคิล สเปนซ์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เน้นย้ำเรื่องการเติบโตทั่วโลกว่า มีแง่บวกที่ต้องพิจารณา โดยเฉพาะการลงทุนในเทคโนโลยีที่มีศักยภาพเพื่อการสร้างรูปแบบการเติบโตอย่างครอบคลุมและยั่งยืน