จีนยังคงต้องการผลไม้จากไทยเพิ่มมากขึ้น
ผู้ส่งออกผลไม้เมืองร้อน เช่น ทุเรียน ค้าขายกับตลาดสำคัญได้อย่างแข็งแกร่ง
นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา นายวุฒิชัย คุณเจตน์ อยู่ในช่วงของ “super busy” ยุ่งมากถึงมากที่สุดของปี ในการคอยดูแลวัดน้ำฝนและคุณภาพดินรายวัน เกษตรกรทุเรียนไทยวัย 40 ปีคนนี้ไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ เขาได้ค้าขายและเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกหลังจากสามปีแห่งการรอคอยเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 และได้กลับสู่สถานการณ์ปรกติในการค้าระหว่างประเทศ
วุฒิชัย ผู้เป็นเจ้าของสวนทุเรียนที่มีพื้นที่ 90 ไร่ เขามีรายได้ประจำปีจากทุเรียนรวมทั้งสิ้น 10 ล้านบาทไทย (ประมาณ 296,150 เหรียญสหรัฐ) ด้วยผลผลิตทุเรียนประมาณ 150 เมตริกตันต่อปี สวนทุเรียนของเขาตั้งอยู่ที่จันทบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องทุเรียนและผลไม้เมืองร้อน เช่น มังคุด เงาะ และลำไย
เช่นเดียวกับเกษตรกรรายอื่น ๆ ในจังหวัด ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของวุฒิชัยคือ ประเทศจีน เขากล่าวว่า“ตลาดจีนสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรไทย ความกระตือรือร้นของชาวจีนในเรื่องทุเรียนได้เปลี่ยนโฉมหน้าสวนผลไม้ในจันทบุรี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สวนทุเรียนเพิ่มมากขึ้น โดยมาแทนที่ผลไม้ชนิดอื่นเนื่องจากผู้คนเห็นว่าทุเรียนทำกำไรได้มากกว่า”
ครอบครัวของวุฒิชัยได้ปลูกทุเรียนมาสามรุ่น เขากล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อน พวกเรามุ่งเน้นที่คุณภาพของผลไม้มากกว่าปริมาณ “พลังการแข่งขันสูงสุดคือรสชาติของทุเรียน ทุเรียนที่ดีที่สุดเติบโตภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด ทุเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมีรสชาติเข้มข้น และอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งควรได้รับการรับรองโดยการดูแลทางวิทยาศาสตร์”
ภาพจาก CFP
การใช้พลังงาน
ทุเรียนเป็นผลไม้นำเข้าอันดับ 1 ของจีน ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ของไทยระบุว่า จีนเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดสำหรับทุเรียนไทยในปีที่แล้วซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 96 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดซึ่งมีมูลค่า 3.09 พันล้านดอลลาร์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยคาดการณ์ส่งออกปีนี้โตร้อยละ 9.8 มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท
ข้อมูลจากนายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า “คาดการณ์ว่าการส่งออกผลไม้สดไปยังจีนจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 ในปีนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าข้ามพรมแดนและการขนส่งภาคพื้นดินที่ดีขึ้น”
นายกมล ภูมิพงศ์ไทย นายกสมาคมการค้าผลไม้ยุคใหม่ในจังหวัดจันทบุรีกล่าวว่า รสชาติเป็นมูลค่าที่ใหญ่ที่สุดของผลไม้สด ความต้องการผลไม้ระดับพรีเมียมของไทยในจีนได้รับการผลักดันจากคุณภาพ ซึ่งได้รับการรับประกันได้จากการขนส่งเท่านั้น เขากล่าวพร้อมแสดงความมั่นใจต่อความคืบหน้าในการสร้างรถไฟสายจีน-ลาว-ไทย ซึ่งกำลังเร่งก่อสร้างในส่วนประเทศไทย
ภายใต้โครงการหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง หรือ BRI ที่จีนได้เสนอในปี 2556 เส้นทางรถไฟเชื่อมต่อแห่งนี้จะเป็นการเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างประเทศจีนและอาเซียน เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางด้านบุคคล การค้า และการสื่อสารต่าง ๆ ท่ามกลางประเทศที่อยู่ในแถบเส้นทางรถไฟ
ไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกในอาเซียน ซึ่งมีข้อตกลงทางการค้าเสรีกับจีน ได้รับประโยชน์จากนโยบายสิทธิพิเศษที่อนุญาตให้สินค้า รวมถึงผลไม้สดได้รับสถานะปลอดภาษี
เส้นทางรถไฟจีน-ลาว-ไทยจากวิ่งจากทางใต้ของเวียงจันทน์ ข้ามแดนสู่จังหวัดหนองคายของไทย และเขตการค้าเสรี ไปจนถึงกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นใช้เวลาประมาณสามชั่วโมงในการขับรถจากจันทบุรี
นายกร ทัพพะรังสี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและนายกสมาคมมิตรภาพไทย-จีน กล่าวว่า “BRI มีความสำคัญต่อประเทศไทย เนื่องจากช่วยเร่งให้เกิดการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของไทยในการเน้นบูรณาการทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทุกรูปแบบสู่การใช้นวัตกรรม ความรู้และความคิดสร้างสรรค์
โอกาสที่มีแนวโน้ม
อุกฤษฎ์ วงษ์ทองสาลี ประธานหอการค้าจังหวัดจันทบุรีกล่าวถึงแนวโน้มการค้าในอนาคตของจังหวัดกับโลก โดยเฉพาะจีน โดยระบุว่า BRI จะนำโอกาสที่ดีมาสู่จันทบุรี หรือที่รู้จักกันในชื่อ “สวรรค์แห่งผลไม้เมืองร้อนในประเทศไทย”
อุกฤษฎ์กล่าวว่า เกษตรกรไทยมีความอ่อนไหวต่อราคาที่ผันผวนในตลาดจีน เนื่องจากพวกเขาไม่มีระบบการประเมินและการระมัดระวังความเสี่ยงที่เหมาะสม จากสถานการณ์ดังกล่าว เกษตรกรในท้องถิ่นบางรายได้นำร่องกลไกใหม่ ด้วยการจัดตั้งศูนย์ประมูลมังคุด เพื่อให้สามารถควบคุมการค้าผลไม้ได้มากขึ้น
ศูนย์ประมูลถูกตั้งขึ้นในปี 2559 เป็นแพลทฟอร์มการค้าที่โปร่งใสต่อเกษตรกรและผู้ซื้อ ทุกวันเวลา 16:00 น. เจ้าของฟาร์มผลไม้จะส่งมังคุดสดไปยังศูนย์ ซึ่งมีผู้ทำงานคัดเลือกและแบ่งประเภทเป็นประจำ
การเตรียมการประมูลมักจะทำเสร็จในเวลาประมาณ 19.00 น. โดยทางศูนย์จะจัดทำตารางราคามังคุดที่มีคุณภาพต่าง ๆ กัน ตามปริมาณที่จัดหาในแต่ละวัน ประกาศให้ทราบ จากนั้น ผู้ค้าผลไม้สามารถเข้าร่วมการประมูลได้ตามความต้องการ
ปัทมา นามวงศ์ ประธานสมาคมมังคุดแห่งจันทบุรีกล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการติดต่อโดยตรงแบบเก่าแล้ว ระบบการประมูลได้เปลี่ยนบทบาทเกษตรกรจากเชิงรับสู่เชิงรุก เนื่องจากมีการระบุราคาที่แน่นอน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกร
“ตอนนี้ ดีลเลอร์หรือตัวแทนจำหน่ายจะมาที่ศูนย์เพื่อยืนยันคุณภาพของมังคุด แต่สำหรับดีลเลอร์ที่มีประสบการณ์ พวกเขาจะแค่โทรศัพท์ยืนยันเท่านั้น ซึ่งสะดวกมาก” เธอกล่าวและเพิ่มเติมว่า “จากเจ้าของสวนผลไม้รายเล็ก ๆ มารวมตัวกัน ปัจจุบันศูนย์แห่งนี้เติบโตเป็นศูนย์การประมูลที่ใหญ่ ด้วยความพยายามร่วมกันของสมาชิกมากกว่าร้อยคน และก็มีความสุขที่ได้เห็นเกษตรกรได้รับผลประโยชน์ด้านผลผลิตจากการบริหารจัดการทางวิทยาศาสตร์”
“มังคุดในจันทบุรี ร้อยละ 98 ถูกส่งออกไปยังจีนทุกปี เนื่องจากเหตุผลทางสภาพอากาศ จะได้ผลผลิตน้อยลงในปีนี้ ซึ่งหมายถึงราคาที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการค้าทวิภาคีระหว่างไทย-จีนค่อย ๆ ฟื้นฟู และระบบการขนส่งได้รับการปรับปรุง พวกเรามองว่าอนาคตตยังสดใส” เธอกล่าวเพิ่ม