บทสัมภาษณ์อู๋ ตงเหมย กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำจังหวัดสงขลา
อู๋ ตงเหมย กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำจังหวัดสงขลาให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว
(ภาพโดยกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำจังหวัดสงขลา)
“ภาคใต้ของประเทศไทย มีภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกับจีน มีทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม ในอนาคต จีนและภาคใต้ของไทยมีโอกาสร่วมมือกันอย่างกว้างขวาง” อู๋ ตงเหมย กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำจังหวัดสงขลา กล่าวในการสัมภาษณ์พิเศษกับผู้สื่อข่าวจากพีเพิลส์เดลี่ ออนไลน์ (People's Daily Online) ในจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566
เธอกล่าวเพิ่มว่า “จีนและไทยมีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตร และทั้งสองประเทศมีประวัติศาสตร์แลกเปลี่ยนอันยาวนาน กว่า 10 ปีที่ผ่านมา สองประเทศได้สร้างหุ้นส่วนความร่วมมือทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านและประสบผลสำเร็จในด้านต่าง ๆ”
ด้วยความร่วมมืออย่างเป็นระบบ การสื่อสารนโยบาย และความเชื่อมโยงด้านสิ่งอำนวยความสะดวกระหว่างจีนและไทยภายใต้กรอบ “ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (BRI) ทำให้การส่งออกผลไม้จากภาคใต้ของไทยไปยังจีนยังคงมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2565 จังหวัดชุมพร ทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้ส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีนจำนวน 294,500 ตัน บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด 17,464 ตู้ นอกจากนี้ ผลไม้อื่น ๆ จากภาคใต้ของไทย เช่น มะพร้าว สับปะรด กล้วยหอม และมะม่วงก็เป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดจีน ในอนาคต ภาคใต้ของไทยหวังที่จะขยายการส่งออกผลไม้ไปสู่จีนในอีกระดับ
ในด้านความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการศึกษา ใน 14 จังหวัดทางภาคใต้ของไทย มีสถาบันขงจื๊อ 3 แห่ง ห้องเรียนขงจื๊อ 2 แห่ง และโรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนมากกว่า 20 แห่ง “สถาบันเหล่านี้มีส่วนร่วมอย่างโดดเด่นในการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมจีนที่ยอดเยี่ยม ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและภาคใต้ของไทย และการพัฒนาการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีน”
“ภาคใต้ของไทยมีภูมิศาสตร์ใกล้กับจีน และเป็นฐานสำคัญในการก่อสร้าง ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ อย่างมีคุณภาพสูง ซึ่งช่วยเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย”
นางอู๋ ตงเหม่ยหวังว่าจีนและภาคใต้ของไทยจะกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบวิน-วินและมีผลประโยชน์ร่วมกัน ยกระดับการแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมระหว่างจีนและภาคใต้ของไทย ขยายความร่วมมือด้านการศึกษาและการฝึกอบรมบุคลากร รวมทั้ง ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของการรักษาสิ่งแวดล้อม
นางอู๋ ตงเหม่ยกล่าวว่า “จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับไทยเพื่อสานต่อมิตรภาพพิเศษของ ‘จีนและไทยในฐานะครอบครัวเดียวกัน’ เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและการสื่อสาร อีกทั้ง ส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนและภาคใต้ของไทยอย่างต่อเนื่อง”