คำกล่าวหา “ความร่วมมือด้านท่าเรือจีนในต่างประเทศ” กำลังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาร่วมกัน

(People's Daily Online)วันจันทร์ 31 กรกฎาคม 2023

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะที่โครงการ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (BRI) กำลังเติบโตอย่างลงลึกและมีนัยสำคัญ วิสาหกิจของจีนได้มีการร่วมทุนก่อสร้างและดำเนินการท่าเรือในประเทศต่าง ๆ ตามแนวเส้นทางสายไหมใหม่ ไม่เพียงส่งเสริมการจ้างงานท้องถิ่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจอย่างแข็งขันเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์กับประเทศเหล่านี้ด้วยบริการการขนส่งทางทะเลที่โดดเด่น

ทว่า มีบุคคลบางส่วนจากสหรัฐอเมริกามองความร่วมมือในท่าเรือต่างประเทศของจีนอย่างมีอคติ พวกเขาสร้างทฤษฎีขึ้นมาเองโดยระบุว่าการลงทุนของจีนในท่าเรือทั่วโลกเป็นภัยคุกคาม รวมทั้ง โฆษณาชวนเชื่อว่าท่าเรือที่จีนลงทุนจะสนับสนุนกองทัพเรือจีนและเป็นความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์

ข้อกล่าวหานี้ไม่สมเหตุสมผล ทำให้ความร่วมมือทางธุรกิจตามปกติกลายเป็นเรื่องการเมือง อีกทั้งสร้างประเด็นเกี่ยวกับอุดมการณ์และความมั่นคง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ร้ายป้ายสีและกดขี่บริษัทสัญชาติจีนเพื่อรักษาสิ่งที่เรียกว่า “ความได้เปรียบในการแข่งขัน” ของสหรัฐอเมริกา

ตามรายงานการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนาระบุการขนส่งทางทะเลเป็นเป็นวิธีการใช้กันอย่างปรกติทั่วไปมากที่สุดในการค้าระหว่างประเทศ คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณการค้าสินค้าระหว่างประเทศ

ท่าเรือเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่ครบวงจร โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องที่สร้างขึ้น การดำเนินงานและการบริหารจัดการท่าเรือได้ดีเพียงใดก็ยิ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจทางทะเล

ทุกประเทศที่อยู่ติดทะเลให้ความสำคัญอย่างสูงกับการก่อสร้างและพัฒนาท่าเรือ และตระหนักดีว่า ท่าเรือเหล่านี้เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการผลักดันการแลกเปลี่ยนทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศเหล่านี้คัดเลือกพันธมิตรความร่วมมือทางท่าเรืออย่างรอบคอบและเลือกเพียงประเทศที่คิดว่าดีที่สุดเท่านั้น

บางคนในสหรัฐอเมริกาสรุปว่า จีนมีแรงจูงใจแอบแฝงในการลงทุนท่าเรือเกือบ 100 แห่งทั่วโลก โดยอ้างว่าท่าเรือโพ้นทะเลของจีนมี “หน้าที่ทางทหารที่สำคัญ”

พวกเขาเมินต่อความร่วมมือแบบที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ในการทำธุรกิจ แต่ติดอยู่กับความคิดเกมผลรวมศูนย์ อีกทั้งคาดเดาอย่างไร้เหตุผล

ความร่วมมือด้านท่าเรือระหว่างจีนและต่างประเทศสร้างโอกาสการพัฒนาที่สำคัญแก่ประเทศเจ้าภาพ

ท่าเรือในกรุงโคลัมโบประเทศศรีลังกาเป็นโครงการหลักของความร่วมมือตามข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางระหว่างจีน-ศรีลังกา นิตยสารฟอร์บสระบุว่า เป็น “หนึ่งในเมืองใหม่ห้าแห่งที่จะเขย่าโลกอนาคต” บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส บริษัทตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ของโลก คาดว่า โครงการนี้จะทำให้ศรีลังกามีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวน 9,700 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.34 แสนล้านบาท) และสร้างงานให้ท้องถิ่นมากกว่า 400,000 ตำแหน่ง

ปัจจุบัน ท่าบริการตู้สินค้าที่สร้างโดยบริษัทจีนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชากลายเป็นศูนย์หลักของการค้าระหว่างประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งออกข้าวและสินค้าเกษตรอื่น ๆ ของกัมพูชา และกำลังสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมหาศาล

โครงการท่าเรือเซนต์จอห์นในประเทศแอนติกาและบาร์บูดาที่ได้รับการสนับสนุนจากจีนช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิผลการขนส่งของประเทศ รวมทั้งตระหนักถึงความหวังของแอนติกาและบาร์บูดาในการเป็นศูนย์กลางการเดินเรือของภูมิภาค และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่หลากหลายและยั่งยืน

ด้วยเทคโนโลยีความก้าวหน้าและประสบการณ์ในการบริหารจัดการของจีนทำให้ท่าเรือพีรีอุสในประเทศกรีซเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้วยปริมาณการขนส่งสินค้าเข้า-ออกระหว่างประเทศสูงถึง 5.65 ล้านTEUs (หน่วยนับสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งมีขนาดความยาว 20 ฟุต โดยตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุตเท่ากับ 1 TEU และตู้คอนเทอนเนอร์ 40 ฟุต เท่ากับ 2 TEU)

ประเทศที่เกี่ยวข้องต่างเชื่อว่าความร่วมมือด้านท่าเรือของจีนในต่างประเทศจะช่วยให้ประเทศเหล่านั้นเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาจนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และส่งเสริมการพัฒนาระดับภูมิภาคที่ประสานกันโดยมีศูนย์กลางที่ท่าเรือและการพัฒนาโดยรวมของประเทศนั้นๆ

สหรัฐอเมริกายังได้ประโยชน์จากความร่วมมือด้านท่าเรือในต่างประเทศของจีนด้วย ความร่วมมือกับบริษัท COSCO Shipping พันธมิตรจีน ช่วยให้ท่าเรือบอสตันยังคงการจ้างงานเดิม 9,000 ตำแหน่ง อีกทั้งช่วยสร้างงานเพิ่ม 400,000 ตำแหน่ง ถือเป็นตัวอย่างของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกาที่สมบูรณ์แบบ

สิ่งที่บางคนในสหรัฐอเมริกามีอคติป้ายสีความร่วมมือด้านท่าเรือระหว่างจีนกับต่างประเทศว่ามีนัยแฝงเร้น เป็นการบั่นทอนความร่วมมือระหว่างประเทศที่สองฝ่ายต่างได้ประโยชน์และเกิดความเจริญรุ่งเรืองด้วยกัน พวกเขาควรจะหยุดใช้แนวคิดความมั่นคงของประเทศในทางที่ผิด หยุดการโป้ปดมดท็จสิ่งที่เรียกว่า "ภัยคุกคามจากการลงทุนของจีนในท่าเรือทั่วโลก" และหยุดการประทำที่เป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างประเทศตามปกติ

(บทความโดย จง เซิง นามปากกาของพีเพิลส์ เดลี่ สำหรับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศและกิจการระหว่างประเทศ)