สมาชิกใหม่ BRICS มองหาโอกาสการพัฒนาระเบียบโลกที่เป็นธรรมยิ่งขึ้น

(People's Daily Online)วันพฤหัสบดี 31 สิงหาคม 2023

การประชุมสุดยอดบริกส์ ครั้งที่ 15 ที่เพิ่งสิ้นสุดลง ได้รับสมาชิกใหม่ 6 ประเทศเข้ากลุ่ม อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยอาร์เจนตินา อียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ผู้นำและนักวิเคราะห์จากทั้ง 6 ประเทศต่างยินดีต่อการได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ หลายคนคาดหวังว่ากลไกนี้จะสร้างโอกาสการพัฒนามากยิ่งขึ้น


ชายคนนี้กำลังถ่ายภาพที่ศูนย์ข่าวการประชุมสุดยอดบริกส์ ครั้งที่ 15 (the 15th BRICS Summit)
ที่เมืองโจฮันส์เนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (ซินหัว/หลี่ ย่าฮุย)

ความร่วมมือที่ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

สถิติทางเศรษฐกิจของธนาคารโลกในปี 2565 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) หรือจีดีพี (GDP) โดยรวมของกลุ่มบริกส์หลังการขยายตัวจะคิดเป็นร้อยละ 28.99 ของจีดีพีทั่วโลก แทนที่การขยายตัวก่อนหน้านี้ที่ป็นร้อยละ 25.77

นายโมฮาเหม็ด มาเอต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอียิปต์กล่าวว่าการเข้าร่วมกลุ่มบริกส์ของประเทศอียิปต์จะเพิ่มโอกาสการส่งออกและการลงทุน รวมถึงการลงทุนจากต่างประเทศ

นายอิบราฮิม ฮาชิมอดีตที่ปรึกษาประธานสำนักงานบริหารอาบูดาบีกล่าวว่าการเข้าร่วมกลุ่มบริกส์ ช่วยสร้างโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการเสริมสร้างและกระจายความความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาของโลก พร้อมระบุเพิ่มเติมว่าการมีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดิอาระเบียอยู่ในกลุ่ม บริกส์จะช่วยประสานนโยบายพลังงานระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคพลังงานหลักบางรายได้ดีขึ้น ส่งเสริมเสถียรภาพและการคาดการณ์ของตลาดน้ำมันและพลังงาน

นายอาบาส อัสลานี ผู้เชี่ยวชาญนโยบายต่างประเทศอิหร่านกล่าวว่าสำหรับอิหร่าน การเข้ากลุ่มบริกส์จะช่วยชดเชยการถูกโดดเดี่ยวจากประเทศตะวันตกทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง นับเป็นความพยายามที่ก้าวหน้าของอิหร่านในการเข้าร่วมกลุ่มองค์กรระหว่างประเทศและภูมิภาค


ป้ายประชาสัมพันธ์งานประชุมสุดยอดบริกส์ บริเวณใกล้สถานที่จัดการประชุมสุดยอดบริกส์ครั้งที่ 15 ที่เมือง
โจฮันส์เนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (ซินหัว/จาง ยี่ว์ตง)

ระเบียบโลกที่สมดุล

นายนาเซอร์ อับเดล-อาล ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์มหาวิทยลัยคลองสุเอซตระหนักว่าการขยายตัวของกลุ่มบริกส์นับเป็น “ก้าวย่างที่มีอิทธิพลต่อระเบียบโลกที่มีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น” โดยกล่าวว่า BRICS เป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศที่พยายามสร้างระเบียบที่เป็นประโยชน์ร่วมกันเพื่อให้เข้ากับคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา

นายเมลากู มูลูเลมนักวิจัยอาวุโสด้านการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สถาบันกิจการยุทธศาสตร์เอธิโอเปียกล่าวว่า มีช่องว่างที่กว้างขึ้นระหว่างตลาดเกิดใหม่ในระบบโลกและความสามารถของพวกเขาในการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของสถาบันระดับโลก ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้กำลังเติบโตขึ้น อย่างไรก็ดี เสียงทางการเมืองของพวกเขายังคงถูกจำกัด เพราะระบบโลกที่มีอยู่ยังคงดำเนินไปอย่างแทบจะไม่เปลี่ยนแปลง

พร้อมย้ำว่า กลุ่มบริกส์ พยายามสร้างความร่วมมือในหมู่ประเทศกำลังพัฒนาและธรรมาภิบาลโลกที่เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น รวมถึงการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในองค์กรระดับโลก เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank)