การพัฒนาสีเขียวในกุ้ยโจวเปลี่ยนดินแดนทะเลทรายหินให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
ทุ่งนาขั้นบันไดและบ้านของคนในท้องถิ่นที่หมู่บ้านเจียปัง มณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
(พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์/ถู่ หมิ่น)
มณฑลกุ้ยโจว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนได้ผ่านการพัฒนาเปลี่ยนถ่ายสู่สีเขียวเป็นเวลาหลายปีจนทำให้สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาของที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง
ในทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการปกคลุมของป่าไม้ในกุ้ยโจวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และได้มีการปลูกป่าไม้ใหม่ในพื้นที่ทั้งหมดราว 16.95 ล้านโหม่ว หรือ ประมาณ 40.68 ล้านไร่ ทำให้ที่นี่กลายเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้มากสุดในประเทศ
สะพานโบราณเสี่ยวชีข่ง มณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน (ภาพโดยเหยา เซียนตุ้น)
กุ้ยโจวเคยเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุด ภูมิประเทศอันหลากหลาย และมีทะเลทรายหินที่รุนแรงที่สุดในประเทศจีน
ในปี พ.ศ. 2548 พื้นที่ในมณฑลแห่งนี้เป็นทะเลทรายหินถึง 37,600 ตร.กม. ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 ตัวเลขนี้ได้ลดลงร้อยละ 43 เป็นพื้นที่ทะเลทรายหินขนาด 15,500 ตร.กม. ทำให้กุ้ยโจวเป็นอันดับสูงสุดของภูมิภาคระดับมณฑลที่มีการควบคุมการแปรสภาพเป็นทะเลทรายจากหิน
ในปัจจุบัน เศรษฐกิจสีเขียวมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 45.5 ของเศรษฐกิจทั้งหมดในกุ้ยโจว นอกจากนี้ มณฑลแห่งนี้ยังมีสถานที่มรดกทางธรรมชาติระดับโลกที่ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกหลายแห่ง รวมถึง ในเมืองต่าง ๆ ในระดับอำเภอมีจำนวนวันที่มีอากาศคุณภาพดีถึงร้อยละ 99 และมีแม่น้ำสายสำคัญที่มีคุณภาพน้ำดีเลิศร้อยเปอร์เซ็นต์ไหลออกจากกุ้ยโจว
นอกจากนี้ กุ้ยโจวยังได้รับการจัดลำดับความสำเร็จในการต่อสู้กับมลพิษระดับชาติอยู่ในระดับ “ยอดเยี่ยม” รวมถึงประสบการณ์ในการปฏิรูปอารยธรรมทางระบบนิเวศวิทยาของกุ้ยโจวทั้ง 31 ผลงานได้รับการรวมอยู่ในความสำเร็จในการปฏิรูปของจีน