นายกสมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน ระบุ CIIE ขยายวงเพื่อน

(People's Daily Online)วันอังคาร 07 พฤศจิกายน 2023


นายชุน ไพลินดีเลิศ นักธุรกิจค้าอัญมณีวัย 48 ปี นายกสมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน กำลังเลือกอัญมณี
ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (ภาพโดยหวัง เถิง /ซินหัว)

นายกสมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน (Thai Chinese New Generation Business Association) ระบุงานมหกรรมแสดงสินค้านำเข้านานาชาติจีน หรือ CIIE เป็นนิทรรศการระดับสูงที่มีบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมเข้าร่วมงาน และได้สร้างเวทีอันกว้างขวางสำหรับวิสาหกิจต่างชาติเพื่อเข้าสู่ตลาดจีน

นายชุน ไพลินดีเลิศ เจ้าของธุรกิจอัญมณีวัย 48 ปี นายกสมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ ไทย-จีน ได้ติดตามพ่อแม่มาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยเด็กๆ และก่อตั้งบริษัท ไทยแลนด์ หยงไท่ จิวเวลรี่ จำกัด (Thailand Yongtai Jewelry Co., Ltd.) เมื่อเขาอายุ 18 ปี นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เขาก็มีส่วนร่วมในธุรกิจการค้าอัญมณี ได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวซินหัวที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ก่อนงานมหกรรมแสดงสินค้านำเข้านานาชาติจีน ครั้งที่ 6 ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-10 พฤศจิกายนนี้ที่นครเซี่ยงไฮ้จะเริ่มขึ้น โดยระบุ “CIIE ขยายแวดวงเพื่อนของเรา และผมได้เข้าร่วมงานนี้ทุกครั้ง นับตั้งแต่มีการจัดงานนี้ในปี ค.ศ. 2018” ปีนี้จะเป็นครั้งที่ 6 ที่เขาเข้าร่วมงานนี้

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางระดับโลกในการแปรรูปทับทิมและแซฟไฟร์ และเครื่องประดับก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย นายชุน ไพลินดีเลิศและบริษัทของเขาได้รับเชิญจากสมาคมการแลกเปลี่ยนอัญมณีและหยกของจีน ในปี 2018 ให้เข้าร่วมงาน CIIE ครั้งแรก เขาเผยว่าการร่วมงานครั้งนั้นทำให้ได้ลงนามในคำสั่งต่างๆ มากมายและได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่ CIIE ได้แข่งขันกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากมาย และเรียนรู้จากกันและกันผ่านงาน CIIE ขณะเดียวกัน ก็สามารถสื่อสารกับผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าได้โดยตรง ซึ่งเพิ่มชื่อเสียงให้กับธุรกิจของเขาในจีนด้วย งานในปีนี้จะจัดขึ้นแบบออฟไลน์เต็มรูปแบบ และบูธบริษัทของนายนายชุน ไพลินดีเลิศ ได้ขยายจากเดิม 36 ตารางเมตรเป็น 72 ตารางเมตรเขาระบุ “การเติบโตของขนาดบูธสะท้อนให้เห็นถึงแรงดึงดูดที่แข็งแกร่งของ CIIE สำหรับหน่วยงานที่เข้าร่วม เหตุผลในการขยายบูธก็คือผมได้รับประโยชน์อย่างมากจาก CIIE”

นายชุน ไพลินดีเลิศกล่าวกับผู้สื่อข่าว่าจากการมาร่วมงาน CIIE ไม่เพียงได้เห็นการเปิดตลาดของจีนเท่านั้น แต่ยังได้เห็นการพัฒนาของบริษัทของเขาเองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอีกด้วย “เราได้ขยายบูธ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า (บริษัทของเรา) หยั่งรากลึกในตลาดจีน” พร้อมเสริมว่าเขาจะนำเครื่องประดับกว่า 1,000 ชิ้นและอัญมณี 5,000 กะรัตมาจัดแสดงในงานครั้งนี้

จากการสนทนาโดยตรงกับลูกค้าชาวจีน ผู้ประกอบการอัญมณีรายนี้พบว่าความเข้าใจของลูกค้าชาวจีนเกี่ยวกับวัฒนธรรมเครื่องประดับมีความลึกมากขึ้น โดยตั้งข้อสังเกตว่าความสามารถในการบริโภคของชาวจีนที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวจีนมีการแสวงหาและการยอมรับเครื่องประดับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และความต้องการของลูกค้าก็กำลังพัฒนาไปสู่การกระจายตัวเช่นกัน เขาเชื่อว่าแนวโน้มของอุตสาหกรรมอัญมณีในจีนมีอนาคตที่สดใสมาก นอกเหนือจากการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับบริษัทของเขาที่งาน CIIE แล้ว เขายังมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการช่วยเหลือภาคธุรกิจไทยให้เข้าร่วมงาน CIIE ผ่านทางสมาคมธุรกิจคนรุ่นใหม่เชื้อสายไทยอีกด้วย พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าเขาได้นำผู้ผลิตเครื่องประดับไทยมากกว่า 40 รายเข้าร่วมงาน CIIE ครั้งแรกในปี 2018 และงานครั้งที่สอง จำนวนนักธุรกิจที่เข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นโดยมีผู้ผลิตเครื่องประดับไทยมากกว่า 70 ราย นอกจากนี้ ยังมีผู้แสดงสินค้าในสาขาอาหารและการแพทย์เข้าร่วมงานด้วย

ปีนี้ครบรอบ 10 ปีข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่จีนเป็นผู้เสนอ ในฐานะงานแสดงสินค้าระดับชาติในธีมการนำเข้างานแรกของโลก CIIE ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางจากประเทศที่ร่วมหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง จนถึงขณะนี้ มีบริษัทมากกว่า 1,500 บริษัทจากประเทศหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานองค์กรและธุรกิจ ในงาน CIIE ครั้งที่ 6

นายชุน ไพลินดีเลิศกล่าวว่า CIIE ได้สร้างโอกาสใหม่ให้กับประเทศไทยและประเทศหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางอื่นๆ ในการเข้าสู่ตลาดจีน รัฐบาลไทยถือว่า CIIE เป็นเวทีสำคัญในการส่งเสริมการค้า และสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ เข้าร่วมอย่างจริงจัง เขาย้ำว่า “เราจะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงาน CIIE ต่อไป และแนะนำสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจีนให้มากขึ้นในอนาคต และในขณะเดียวกันก็นำสินค้าคุณภาพสูงจากจีนมายังประเทศไทยและทั่วโลกด้วย”