จีนและอาเซียนมุ่งกระชับความส้มพันธ์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

(People's Daily Online)วันศุกร์ 05 มกราคม 2024

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าด้วยความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ ผนวกกับสายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการทูตช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนและประเทศในอาเซียน

นางโหว เยี่ยนฉี (Hou Yanqi) เอกอัครราชทูตจีนประจำอาเซียนกล่าวปิดท้ายในฟอรั่มประชุมครบรอบ 20 ปีแห่งการร่วม “สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ TAC ของจีน ณ กรุงจาการ์ตาว่า “เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องสานต่อจิตวิญญาณของสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือต่อไป”

“สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ TAC มีการลงนามระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2519 ด้วยเป้าหมายในการยึดมั่นหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีความร่วมมือที่เป็นมิตรกับประเทศสมาชิกอาเซียน


ผู้โดยสารถ่ายรูปตัวเองกับโมเดลรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุงที่สถานีฮาลิมในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม (ภาพโดยซินหัว)

ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565

ในฐานะที่เป็นความร่วมมือทางการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก RCEP ครอบคลุมประชากร เกือบหนึ่งในสามของประชากรโลกและมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี คิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของโลก

สำนักงานเลขาธิการอาเซียนเปิดเผยว่า แม้กระทั่ง ก่อนที่จะมีความร่วมมือ RCEP อาเซียนถือเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของจีนมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว มูลค่าการค้าระหว่างอาเซียนและจีนสูงขึ้นกว่าเท่าตัว จาก 235.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2553 เป็น 507.9 พันล้านดอลลาร์ในปี 2562 จีนเป็นแหล่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดสำหรับอาเซียน ด้วยการไหลเข้าของเงินทุนสูงถึง 15.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “RCEP ได้ช่วยเชื่อมโยงจีนกับประเทศในอาเซียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น”  เขาชื่นชมความพยายามของจีนในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของอาเซียน ไม่เพียงแต่ผ่าน RCEP เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผ่านข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ด้วย


พนักงานกำลังบรรทุกทุเรียนสดที่เพิ่งเก็บจากสวนทุเรียนในจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 18 กันยายน (ภาพโดยซินหัว)

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและจีนจะยังคงเหนียวแน่นและคงก้าวหน้าต่อไปแม้ว่าจะมีความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแรงลงและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์

Aloysius Lele Madja อดีตนักการทูตอินโดนีเซีย กล่าวถึงอนาคตของความสัมพันธ์อาเซียน-จีนว่า ขึ้นอยู่กับแต่ละฝ่ายจะสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องของตนกับวิธีมองแนวคิดเรื่องความเจิรญรุ่งเรืองร่วมกัน รวมถึงส่งเสริมความยุติธรรมและสันติภาพของโลก