เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการกระตุ้นการบริโภคในจีน

(People's Daily Online)วันอังคาร 16 มกราคม 2024

การบริโภคด้านดิจิทัลเป็นตัวผลักดันที่สำคัญในการขยายความต้องการภายในประเทศ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพมากขึ้น และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมในจีน

นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2566 ยอดขายปลีกทางออนไลน์ของจีนสูงถึง 13.96 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 1.96 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา


ผู้เยี่ยมชมกำลังเล่นเกมด้วยอุปกรณ์เสมือนจริง (VR) ที่เทศกาลสัมผัสดิจิทัลและเมตาเวิร์ส จัดขึ้นที่สนามกีฬาแห่ง
ชาติ (หรือที่รู้จักกันในชื่อ สนามกีฬารังนก) ในกรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2566 (พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์/ตู
เจียนปัว)

ในปัจจุบัน รูปแบบและโมเดลใหม่ๆ ของการบริโภคทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งจากการชอปปิงออนไลน์ การถ่ายทอดสด และวัฒนธรรมดิจิทัล สิ่งเหล่านี้กำลังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนอย่างมาก

กิจกรรมส่งเสริมการขายต่าง ๆ ในระหว่างการไลฟ์สดจากโทรศัพท์มือถือช่วยให้ผู้บริโภคในกรุงปักกิ่งมองเห็นฟาร์มแกะที่อยู่ห่างออกไปกว่า 1,000 กิโลเมตรในมณฑลกานซู่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนได้อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องออกจากบ้าน

สวี เจีย ลูกค้าที่นั่งถือโทรศัพท์อยู่ที่บ้านกล่าวว่า “คอกแกะดูค่อนข้างสะอาด และแกะทุกตัวก็ดูมีชีวิตชีวา การเห็นทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ ฉันคิดว่าเนื้อแกะของร้านนี้ต้องดีแน่ ๆ”

เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดผักที่มีหน้าร้านจริง บางครั้งการไลฟ์สดก็สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภคได้ เขาอธิบายพร้อมเสริมว่า ตอนนี้เขามักจะซื้อสินค้าทางออนไลน์


ผู้เยี่ยมชมกำลังถ่ายภาพการ์ตูนของตนเองที่สร้างจากแอปอัจฉริยะในงานการประชุมปัญญาประดิษฐ์โลก ค.ศ. 2023
ที่นครเซี่ยงไฮ้ ทางตะวันออกของจีน เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 (พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์/หวาง ชู)

ในปัจจุบันนี้ เนื่องจากการชอปปิ้งออนไลน์ช่วยขยายรัศมีการซื้อของผู้บริโภคมากขึ้น พวกเขาสามารถซื้อสินค้าได้จากส่วนต่าง ๆ ของประเทศ และแม้แต่จากทั่วโลกโดยไม่ต้องออกจากบ้าน

ผลจากการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในชนบทของจีนและระบบลอจิสติกส์อีคอมเมิร์ซอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลิตภัณฑ์พิเศษในท้องถิ่น เช่น เห็ด ไข่ และเนื้อสัตว์ที่ผลิตในพื้นที่ห่างไกลของประเทศสามารถจำหน่ายได้ทั่วประเทศผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

เทคโนโลยีดิจิทัลไม่เพียงแต่ขยายขอบเขตการจับจ่ายของผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังช่วยบ่มเพาะอุตสาหกรรมใหม่ รูปแบบและโมเดลธุรกิจใหม่ ทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการบริโภคในประเทศมากขึ้น

หลิน ชิง ผู้บริโภคในเขตตงเฉิง กรุงปักกิ่ง ได้รับโมเดลดิจิทัลของตัวเองหลังจากลงนามในข้อตกลงสั่งซื้อทางออนไลน์ และสแกนใบหน้าของเธอ โดยใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 30 นาทีที่สตูดิโอถ่ายภาพพิเศษบริการสร้างฝาแฝดดิจิทัลให้กับลูกค้า


การไลฟ์สดเพื่อโปรโมตขายส้มจีนทางออนไลน์ในสวนผลไม้ที่ตำบลชวงเจียง อำเภอปกครองตนเองกลุ่มชาติ
พันธุ์ต้งทงเต้า มณฑลหูหนาน ตอนกลางของจีน เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 (พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์/หลี่ ชางอิน)

แฝดดิจิทัลของหลินทำให้ความฝันหลายอย่างของเธอเป็นจริงในโลกเสมือนจริง ไม่ว่าจะเป็น แสลมดังก์ เล่นสกี โชว์การเต้นสตรีทแดนซ์

เธอบอกว่า “มันน่าสนใจจริง ๆ ที่ได้เห็นตัว ‘ฉัน’ ที่คุ้นเคยทำสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ฉันรู้สึกเหมือนได้เจอตัว ‘ฉัน’ เองจากอีกคนหนึ่งที่มาจากจักรวาลคู่ขนาน”

ในปี 2566 ชาวจีนมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เสริมพลังให้กับมนุษย์ดิจิทัลในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย

การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ได้ขยายออกไปในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่การดูแลสุขภาพ การศึกษา การเงิน ไปจนถึงการขนส่ง ความบันเทิง และกีฬา ซึ่งเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานของผู้คน