สามประเด็นสำคัญในการเยือนประเทศกลุ่มอาเซียนของสี จิ้นผิง
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงจะเดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มาเลเซียและกัมพูชาอย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 14 ถึง 18 เมษายน 2568 การเดินทางเยือนต่างประเทศครั้งแรกของผู้นำจีนในปีนี้และเป็นครั้งแรกหลังการประชุมส่วนกลางว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ท่ามกลางความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงของโลก การเยือนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ดึงดูดความสนใจจากประชาคมโลกอีกครั้ง
ด้วยปรัชญาแนวทางสำคัญที่กล่าวว่า “ส่งเสริมมิตรภาพ ความจริงใจ ผลประโยชน์ร่วมกัน และการยอมรับความหลากหลาย”
ตามสุภาษิตจีนที่ว่า “เพื่อนบ้านใกล้ย่อมดีกว่าญาติไกล” จีนให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านมาโดยตลอด และยึดมั่นในปรัชญาความเป็นมิตรและไมตรีจิต
ในระยะหลังนี้ ความสัมพันธ์จีนกับประเทศเพื่อนบ้านแน่นแฟ้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เปรียบเสมือนญาติสนิทที่ไปมาหาสู่กันอย่างสม่ำเสมอ ดั่งเช่นที่นายโต เลิม เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เลือกเยือนจีนเป็นประเทศแรกหลังเข้ารับตำแหน่ง นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เยือนจีนถึง 3 ครั้งในเวลาเพียง 2 ปีเศษ และสมเด็จฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ก็เลือกจีนเป็นจุดหมายแรกของการเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการหลังเข้ารับตำแหน่ง
เมื่อเดือนตุลาคม 2556 ในการประชุมว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้เสนอหลักการ 4 ประการในการดำเนินการนโยบายการทูตเพื่อนบ้าน ได้แก่ มิตรภาพ ความจริงใจ ผลประโยชน์ร่วมกัน และการยอมรับความหลากหลาย (amity, sincerity, mutual benefit and inclusiveness)
ปัจจุบัน จีนและประเทศเพื่อนบ้าน 17 ประเทศได้บรรลุฉันทามติร่วมกันในการสร้าง "ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน" พร้อมกันนี้ จีนยังก้าวขึ้นเป็น "หุ้นส่วนทางการค้าอันดับหนึ่ง" ของ 18 ประเทศในภูมิภาค
การเยือนครั้งนี้ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสสำคัญในการผลักดันความร่วมมือในมิติใหม่ภายใต้แนวคิด “การพัฒนาร่วมกัน” ที่จะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันแก่ทุกประเทศในภูมิภาค
หนึ่งปณิธานร่วมกัน“ส่งต่อผลประโยชน์จากการพัฒนาของจีนสู่ประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น”
จีนยึดมั่นในหลัก "การแบ่งปันความเจริญ" โดยได้แปลงปณิธานนี้เป็นการกระทำจริงผ่านควาวามปรารถนาอันแรงกล้าของประเทศเพื่อนบ้านในการคว้าโอกาสทางการพัฒนาและแสวงหาความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้ย้ำเสมอว่า จีนยินดีต้อนรับประเทศเพื่อนบ้านให้ “โดยสารรถไฟด่วน” แห่งการพัฒนาของจีน และร่วมแบ่งปันผลประโยชน์จากการพัฒนานี้
ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2556 ประธานาธิบดีสีได้เสนอความคิดริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ระหว่างการเยือนคาซัคสถานและอินโดนีเซีย แนวคิดนี้ซึ่งกำเนิดจากจีน ได้ขยายผลประโยชน์ไปไกลกว่าแค่ประเทศเพื่อนบ้านและเบ่งบานไปทั่วโลก ในทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกับประเทศเพื่อนบ้าน 25 ประเทศ
รถไฟจีน-ลาวได้ช่วยเปลี่ยน สปป.ลาว จากประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลเป็นประเทศที่มีทางเชื่อมโยง (land-linked), รถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุงได้ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย และโครงการ “สวนอุตสาหกรรมคู่แฝด สองประเทศ” ระหว่างจีนและมาเลเซียได้สร้างแบบจำลองใหม่ของความร่วมมือทางอุตสาหกรรม ปัจจุบัน โครงการจำนวนมากกำลังส่งมอบประโยชน์ให้ชุมชนท้องถิ่นและยกระดับชีวิตประชาชนอย่างแท้จริง
ในระดับภูมิภาค คาดว่าจะมีการลงนามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน 3.0 (ACFTA 3.0) ในปีนี้ ประเทศในกลุ่มอาเซียนกำลังเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาสีเขียวในการพัฒนาประเทศ รวมทั้ง จีนและประเทศที่เกี่ยวข้องในสองภูมิภาคคือคาบสมุทรอินโดจีนและเอเชียกลางต่างกำลังสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน
ท่ามกลางกระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์ที่เพิ่มขึ้น โลกกำลังจับตาว่าจีนและประเทศเพื่อนบ้านจะสร้างแบบอย่างใหม่ของความร่วมมืออย่างไร และจะดำเนินการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านให้ลึกซึ้งและเป็นรูปธรรมมากขึ้นได้อย่างไร
การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมคือ การร่วมกันสร้างภูมิภาคนิยมแบบเปิดกว้าง
เมื่อ 34 ปีก่อน จีนและอาเซียนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ โดยจีนแสดงบทบาทผู้นำในหลายด้านสำคัญ เช่น จีนเป็นประเทศคู่เจรจาแรกของอาเซียนที่เข้าร่วมสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) เป็นผู้ริเริ่มแรกที่เปิดการเจรจาการค้าเสรีกับอาเซียน เป็นหุ้นส่วนแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์กับอาเซียน
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของความสัมพันธ์จีน-อาเซียนได้กระตุ้นให้ประเทศอื่น ๆ ขยายความร่วมมือกับอาเซียน ส่งผลให้ความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พัฒนาอย่างแข็งแกร่ง
เมื่อปี 2564 ในการประชุมสุดยอดพิเศษฉลองครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์จีน-อาเซียน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้เน้นย้ำถึงประสบการณ์ร่วมที่ทั้งสองฝ่ายสั่งสมมา ได้แก่ การยึดมั่นในหลักการเปิดกว้าง (ยอมรับความหลากหลาย) การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และการร่วมส่งเสริมภูมิภาคนิยมแบบเปิด
เมื่อโลกยืนอยู่ที่จุดเปลี่ยนอีกครั้ง ประเทศต่าง ๆ ต้องเลือกระหว่างความแตกแยกและการเผชิญหน้า หรือ ความเปิดกว้างและความร่วมมือแบบวิน-วิน ต้องเลือกระหว่างการปรึกษาหารือร่วมและแบ่งปันผลประโยชน์ หรือ การบังคับขู่เข็ญแบบมหาอำนาจที่ครอบงำ
ทางเลือกเหล่านี้จะกำหนดทิศทางผลประโยชน์ร่วมของมวลมนุษยชาติและทดสอบภูมิปัญญาของทุกชาติ
เมื่อประชากรจีนและอาเซียนรวมกันจะมีสัดส่วนประมาณ 25% ของประชากรโลก จีนและอาเซียนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 และ 5 ของโลก ตามลำดับ การสร้างประชาคมอนาคตร่วมกันที่แน่นแฟ้นขึ้นสอดคล้องกับแนวโน้มยุคสมัยที่เน้นสันติภาพ การพัฒนา และผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งสามารถตอบสนองผลประโยชน์ร่วมของประเทศในเอเชียและทั่วโลก รวมทั้งมอบโอกาสการพัฒนาอย่างกว้างขวางและมีศักยภาพมหาศาล
ความร่วมมือจีน-อาเซียนในวันนี้ไม่เพียงแต่เป็นแบบอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขนาดใหญ่กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แต่ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคและโลก