โลกเปลี่ยน: หันหลังให้เงินสกุลดอลลาร์ (4)
![]() |
พนักงานที่บูธ TCL ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ของจีนกำลังแนะนำสินค้าให้ผู้เยี่ยมชมที่งานเอ็กซ์โปในรัฐเซาเปาโล ประเทศบราซิล (ซินหัว/เฉิน เฮ่าฉวน) |
การใช้เงินสกุลหยวนในการดำเนินธุรกิจการค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังสำรวจเงินสกุลใดที่ใช้ในการค้าขายได้สะดวกกว่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
นักวิเคราะห์เชื่อว่าจีนและประเทศต่าง ๆ กำลังลดการพึ่งพาเงินสกุลดอลลาร์โดยการใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพื่อการค้าระหว่างพรมแดน ซึ่งช่วยสร้างระบบเงินสกุลระหว่างประเทศแบบหลายขั้ว
สำนักงานแลกเปลี่ยนก๊าสธรรมชาติและปิโตรเลียมแห่งนครเซี่ยงไฮ้ หรือ Shanghai Petroleum and Natural Gas Exchange (SHPGX) รายงานว่า จีนได้นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยใช้เงินหยวนในการซื้อขายข้ามพรมแดน
เป็นครั้งแรกที่จีน ในฐานะประเทศนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ที่ใหญ่เป็นอันดับสองได้ใช้เงินสกุลของตนทำการซื้อขาย เนื่องจากการค้าขายสินค้าโภคภัณฑ์ในระดับโลกนั้นใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักมาเป็นระยะเวลานาน
Sergio Rossi ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์การเงินที่มหาวิทยาลัย Fribourg ในสวิตเซอร์แลนด์กล่าวว่า “ข้อตกลง LNG กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แสดงให้เห็นว่าประเทศผู้ส่งออกน้ำมันกระตือรือร้นที่จะใช้สกุลเงิน เช่น หยวนมากกว่าดอลลาร์ ในระดับนานาชาติ”
ธุรกรรมนี้อาจกระตุ้นให้ประเทศอื่นเปลี่ยนจากเงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินของตนเอง เพื่อชำระค่านำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สิ่งนี้อาจนำไปสู่การสร้างสำนักบัญชีระดับภูมิภาค ซึ่งการซื้อขายระหว่างประเทศจะถูกดำเนินการในตลาดการค้าหรือตลาดการเงิน
David Phua หุ้นส่วนของสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศ King & Wood Mallesons กล่าวว่า “เป็นไปได้แน่นอนที่ตะกร้าสกุลเงินรวมกับโลหะมีค่า เช่น ทองคำและเงิน อาจกลายเป็นวิธีการที่สำคัญมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ” และกล่าวเสริมว่า “สิ่งนี้สามารถนำไปสู่โลกหลายขั้วมากขึ้นในแง่ของการถือครองเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ”
ด้วยประสบการณ์ที่กว้างขวางในการเจรจาและร่างสัญญาซื้อขาย LNG ระยะยาว Phua กล่าวว่า “มีแนวโน้มพอสมควรในการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินหยวนมากขึ้นในอนาคตอันใกล้”
บริษัทน้ำมันนอกชายฝั่งแห่งชาติจีน (China National Offshore Oil หรือ CNOOC) ได้ซื้อก๊าซธรรมชาติจำนวน 65,000 เมตริกตันจาก TotalEnergies ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงปารีสผ่านบริษัท SHPGX ทั้งนี้ ก๊าซ LNG มาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
กัว ซวี ประธานบริษัท SHPGXได้กล่าวกับสื่อว่า “ข้อตกลงนี้เป็นความพยายามที่มีความหมายเพื่อส่งเสริมการกำหนดราคาหลายสกุลเงิน และการชำระเงินข้ามพรมแดนในการซื้อขาย LNG ระหว่างประเทศ”
นักวิเคราะห์กล่าวว่าการซื้อ LNG ของ CNOOC โดยอิงกับเงินหยวนเป็นการประกาศเทรนด์ใหม่ ไม่เพียงแต่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการค้าและการเงินทั่วโลกด้วย
นักวิเคราะห์บางคนสงสัยว่าสหรัฐฯ จะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อแนวโน้มนี้ หลายสิบปีก่อน ซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำอิรักและมูอัมมาร์ กัดดาฟี พันธมิตรชาวลิเบีย แสวงหาทางเลือกอื่นนอกจากการใช้ดอลลาร์สหรัฐในการค้าพลังงานก่อนที่พวกเขาจะถูกกล่าวหาว่าเป็นทรราช โดนโค่นล้มและในที่สุดก็ถูกฆาตกรรม
ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า “เมื่อเวลาผ่านไปมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่สหรัฐเรียกเก็บตั้งแต่ปีก่อนได้แสดงให้เห็นว่าเงินดอลลาร์กำลัง “ติดอาวุธ” อย่างไร การจัดสรรทรัพย์สินในสกุลเงินดอลลาร์ของมหาเศรษฐีรัสเซียซึ่งถือว่าละเมิดพื้นฐานของระบบทุนนิยม ทำให้หลายคนในแวดวงธุรกิจเพิกเฉย”
แม้แต่ Janet Yellen รัฐมนตรีคลังของสหรัฐก็ยอมรับว่ามาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐที่บังคับใช้กับรัสเซียและประเทศอื่น ๆ ทำให้การครอบงำของเงินดอลลาร์ตกอยู่ในความเสี่ยง
Yellen กล่าวให้สัมภาษณ์ต่อ CNN ว่า “มีความเสี่ยงเมื่อมีการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางการเงินที่เชื่อมโยงต่อบทบาทของเงินดอลลาร์ ซึ่งมันจะส่งผลบั่นทอนความเป็นเจ้าภาพโลกของเงินสกุลดอลลาร์ในระยะยาว ซึ่งเป็นเรื่องแน่นอนที่จีน รัสเซียและอิหร่านต้องการมองหาทางเลือกอื่น”
เรื่องเด่น
Deniz Istikba นักวิจัยเศรษฐศาสตร์ที่มูลนิธิวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ การเมือง ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงอันการา ประเทศตุรกีกล่าวว่า “การใช้เงินสกุลหยวนเพิ่มขึ้นในการค้าและกองทุนสำรองแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกับความโดดเด่นของจีนที่กำลังเติบโตขึ้นในทุกวันนี้”
ตัวอย่างเช่น ในประเทศมาเลเซีย นายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิมกล่าวว่า “มาเลเซียกำลังเจรจากับจีนเพื่อดำเนินธุรกรรมการค้าทวิภาคีด้วยเงินสกุลหยวน และเงินสกุลริงกิตของมาเลเซีย” นายอันวาร์ยังได้เสนอแนะให้มีการจัดตั้งกองทุนการเงินเอเชีย (Asian Monetary Fund) เขายังได้กล่าวต่อรัฐสภาของมาเลเซียเมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมาว่า “ไม่มีเหตุผลที่ประเทศมาเลเซียจะยังคงพึ่งพาเงินสกุลดอลลาร์”
เมื่อเดือนมีนาคม จีนและบราซิลได้ตกลงเห็นชอบในการหยุดใช้เงินดอลลาร์ และจะนำเงินสกุลหยวนและเรียลของบราซิลมาใช้ในการทำธุรกรรมระดับทวิภาคี
ลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีบราซิลได้ขอร้องให้ชาติต่าง ๆ ในสมาชิก BRICS สร้างเงินสกุลทางเลือกเพื่อทดแทนเงินดอลลาร์ในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา ในขณะที่เขาเยี่ยมชมธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ หรือ NDB ในนครเซี่ยงไฮ้ได้กล่าวว่า “เหตุใดสถาบัน เช่น ธนาคาร BRICS จึงไม่สามารถมีสกุลเงินเพื่อสนับสนุนความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างบราซิลกับจีน และระหว่างบราซิลกับประเทศสมาชิก BRICS อื่น ๆ ใครเป็นคนตัดสินใจว่าเงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินสำหรับการค้าหลังจากยุติการใช้ทองคำ”
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ที่ถูกจัดตั้งขึ้นจากประเทศสมาชิก BRICS มีนายดิลมา รูซเซฟ อดีตประธานาธิบดีบราซิลเป็นผู้นำ
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางแห่งอิรักประกาศว่าจะอนุญาตให้มีการทำธุรกรรมการค้ากับจีนได้ด้วยการใช้เงินสกุลหยวนโดยตรง นโยบายนี้สอดประสานกับแผนงานของธนาคารที่จะพัฒนาการเข้าถึงเงินตราสกุลต่างประเทศ
ธนาคารกำลังวางแผนที่จะใช้เงินหยวนเพื่อเพิ่มยอดคงเหลือที่ธนาคารอิรักมีกับธนาคารจีน อีกทางเลือกหนึ่งคือการแปลงดอลลาร์ในบัญชีของธนาคารที่มีอยู่กับ JP Morgan และ ธนาคารเพื่อการพัฒนาของสิงคโปร์เป็นเงินหยวน เพื่อใช้ชำระขั้นสุดท้ายในประเทศจีน
Anis Khayati ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยบาห์เรน กล่าวว่า “แผนของธนาคารอิรักเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงบทบาทที่เพิ่มขึ้นของเงินหยวนในการค้าระหว่างประเทศ นี่คือ การก้าวสู่โลกาภิวัตน์ของเงินหยวนเปรียบเทียบกับดอลลาร์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และอาจทำให้จีนมีบทบาทสำคัญในตลาดน้ำมันโลก”
นอกเหนือจากเงินสกุลหยวน ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนกำลังเป็นระดับโลกมากขึ้น
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ในฟอรั่ม World Economic ที่กรุงดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นาย Mohammed Al-Jadaan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของซาอุดีอาระเบียกล่าวว่า “ซาอุดีอาระเบียเปิดให้ซื้อขายในสกุลเงินอื่นที่ไม่ใช่ดอลลาร์เพื่อส่งเสริมการค้า”
“ไม่มีปัญหาในการพูดคุยถึงวิธีที่เราทำข้อตกลงทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ยูโร หรือริยัลของซาอุดีอาระเบีย” อัล-จาดาน กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก
บัญชีธนาคารพิเศษ
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ธนาคารกลางและธนาคารรับฝากทุนสำรองแห่งประเทศอินเดียได้จัดตั้งกลไกในการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมการค้าข้ามพรมแดนด้วยการใช้เงินสกุลรูปีของอินเดีย
Bhagwat Karad รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอินเดียกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า “ธนาคารสำรองจะอนุมัติคำร้อง 60 รายการเพื่อเปิดบัญชีรูปี วอสโตร พิเศษ หรือ SRVA ให้กับธนาคารตัวแทนใน 18 ประเทศ”
บัญชีดังกล่าวเก็บเงินที่ถือครองของนิติบุคคลต่างชาติในธนาคารอินเดียเป็นเงินสกุลรูปี เมื่อผู้นำเข้าชาวอินเดียต้องการชำระเงินให้กับผู้ค้าต่างประเทศด้วยเงินรูปี จำนวนเงินจะถูกโอนเข้าบัญชีวอสโตรนี้
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม คณะกรรมาธิการระดับสูงของอินเดียประจำเมือง Dares Salaam ประเทศแทนซาเนีย ประกาศว่าธนาคารรับฝากทุนสำรองของอินเดียได้อนุญาตให้ธนาคารในอินเดียเปิด SRVA เพื่อเป็นสำนักงานธนาคารตัวแทนในแทนซาเนีย โดยอนุญาตให้ทั้งสองประเทศซื้อขายโดยใช้เงินรูปีของอินเดียและชิลลิงของแทนซาเนีย คณะกรรมาธิการกล่าวว่า “ความเคลื่อนไหวนี้จะช่วยให้การทำธุรกรรมการชำระเงินในสกุลเงินในประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยอนุรักษ์การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และเพิ่มการค้าในระดับทวิภาคี”
Piyush Goyal รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดียกล่าวในการบรรยายสรุปเมื่อวันที่ 13 เมษายนว่า “หลายประเทศกำลังเจรจากับธนาคารรับฝากทุนสำรองของอินเดีย เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าด้วยเงินรูปี เพื่อลดต้นทุนการทำธุรกรรม”
Goyal กล่าวเพิ่มว่า “เป็นเพราะการใช้เงินสกุลเงินดอลลาร์หรือ ยูโรในการทำธุรกรรมทางการค้ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในด้านการแปลงอัตราแลกเปลี่ยน”
ประเทศบังกลาเทศเพิ่งตกลงที่จะจ่ายเงินให้รัสเซียด้วยเงินหยวน สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่บริษัท Rosatom State Atomic Energy Corp ของรัสเซียกำลังช่วยสร้าง ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับกรุงธากา เมืองหลวงของบังกลาเทศ
ผู้ให้กู้ชั้นนำของรัสเซีย เช่น Sberbank ธนาคาร VTB และธนาคาร Gazprom มีบัญชีวอสโตร รูปี (Vostro Rupee) พิเศษที่ช่วยให้พวกเขาทำธุรกรรมด้วยเงินรูปีได้
สมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังวางแผนใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการทำธุรกรรมภายในภูมิภาค
Perry Warjiyo ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซียกล่าวว่า “กลุ่มภูมิภาคจะสร้างหน่วยงานเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจอาเซียนเปลี่ยนไปสู่การใช้สกุลเงินท้องถิ่นแทนเงินดอลลาร์
เมื่อวันที่ 31 มีนาคมในตอนท้ายของการประชุมรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย Warjiyo กล่าวว่า “การใช้สกุลเงินท้องถิ่นสำหรับการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดนจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินในภูมิภาค”
Ernesto Pernia อดีตเลขาธิการการวางแผนเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์กล่าวว่า “ข้อเสนอที่จะใช้สกุลเงินท้องถิ่นสำหรับการค้าภายในภูมิภาคนั้นเหมาะสมที่สุด แต่ไม่สามารถทำได้ในระยะเวลาอันใกล้ มันจะนำมาซึ่งการถกเถียงและการลองผิดลองถูกมากมายในระยะยาวกว่าจะบรรลุถึงข้อตกลงร่วมกันในขั้นสุดท้าย”
V. Bruce Tolentino สมาชิกภาคเอกชนของคณะกรรมการการเงินของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ กล่าวในการให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้กับ China Daily ว่า “อาเซียนอาจสามารถใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนได้ภายใน 5-10 ปี”
และกล่าวเสริมว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะต้องลดการครอบงำของเงินดอลลาร์และธนาคารของสหรัฐฯ ในการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างระบบการเงินการค้าและการชำระเงินทางเลือก”
Rossi จากมหาวิทยาลัย Fribourg กล่าวว่า “ความตึงเครียดทางการเมือง เช่น ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนได้ผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ลดการใช้เงินสกุลดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจของตน รวมทั้ง การที่สหรัฐฯ และชาติต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกคว่ำบาตรรัสเซียนั้น ทำให้รัสเซียหันไปใช้สกุลเงินทางเลือกสำหรับการค้าระหว่างประเทศ”
(Leonardus Jegho จากจาการ์ตาและ Jan Yumul จากฮ่องกง ผู้ให้ข้อมูลในเรื่องนี้)